สัปดาห์ที่แล้ว ในบทความ SEO คืออะไร? และทำไมถึงสำคัญต่อดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เราได้คุยกันว่า SEO คืออะไร รวมถึงอธิบายวิธีการทำงานของ Search Engines ไปอย่างคร่าว ๆ รีแคปสั้น ๆ SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization และ การทำ SEO คือ วิธีทางการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่ม Traffic ตามกลุ่มเป้าหมายเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ผ่าน Google ว่าง่าย ๆ คือการทำให้เว็บของคุณติดหน้าแรกและไต่อันดับในหน้าผลการค้นหา (บางที่เรียก SERP) บริษัทรับทำ SEO ใช้วิธีการสร้างคอนเทนต์คุณภาพสูงที่มีคีย์เวิร์ดเป้าหมาย ปรับเสริมเติมแต่งเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ และการสร้าง Backlink ซึ่งจะขออธิบายในภายหลัง
เว็บไซต์ในไทยหลายเจ้ายังมีความรู้เกี่ยวกับ SEO ไม่มากเท่าตลาดต่างประเทศ ดังนั้นการมีพื้นฐานที่ถูกต้องก็น่าจะพาคุณไปได้ไกลพอตัวในตลาด SEO เมืองไทย
วันนี้เราจะมาเรียนรู้พื้นฐานวิธี การ ทำ SEO ไปพร้อมกันครับ
ทำความรู้จักลูกค้า
ก่อนจะเริ่มพูดถึงเรื่องยาก ๆ เรามาเริ่มกันที่องค์ประกอบการตลาดที่ถือว่าเป็นเบสิคแต่ก็มีความสำคัญอย่างมาก นั่นคือการทำ Customer Research
Customer Research จะปูทางให้เราสามารถทำการวิจัยการตลาดเพื่อทำ SEO อย่างละเอียดมากขึ้นในภายหลัง เชื่อว่าคุณผู้อ่านบางท่านที่เป็นเจ้าของธุรกิจน่าจะมีภาพลูกค้าในหัวที่ชัดเจนระดับหนึ่งอยู่แล้ว ภาพนี้เราเรียกอีกอย่างได้ว่า Customer Persona
Persona นี้จะเป็นเพื่อนในจินตนาการที่จะนำทางให้เราเห็นว่ากลุ่มลูกค้ามีความต้องการ รู้สึก และทำอะไรจากสิ่งนั้น ใน Persona จะแสดงข้อมูลพื้นฐานอย่างช่วงอายุ เพศ สถานะทางการเงิน ความสนใจ Pain point หรืออุปสรรคในชีวิต รวมถึงเป้าหมายในการใช้ชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
Customer Persona เป็นเครื่องมือสำคัญมากสำหรับทั้ง Digital Marketing และ การทำ SEO การมี Persona ที่ชัดเจนไม่เพียงแต่ช่วยคุณสร้างผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ แต่ยังทำให้รู้ว่าพวกเขาพิมพ์อะไรเวลาค้นหาสินค้าเหล่านั้น
หาคีย์เวิร์ดที่ใช่
เมื่อรู้แล้วว่าลูกค้าคือใครและต้องการอะไร ขั้นตอนต่อไปของการทำ SEO คือ Keyword Research โดยเป็นขั้นตอนที่เราจะค้นหาคำหรือประโยคที่คนใช้ค้นหาใน Google (เรียกอีกอย่างว่า Search Query) โดยส่วนมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
อย่างแรกคือ Product Keyword คือคีย์เวิร์ดที่คนใช้เพื่อเจาะจงค้นหาสินค้าสักชิ้น เช่น "หม้อทอดไร้น้ำมัน shopee" ส่วน Informational Keyword คือคีย์เวิร์ดที่ใช้หาข้อมูลอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องแต่ไม่เจาะจงเพื่อค้นหาสินค้า เช่น "สูตรอาหาร หม้อทอดไร้น้ำมัน"
การปรับแต่งเว็บไซต์โดยยึดคีย์เวิร์ดทั้งสองประเภทจะช่วยให้เว็บของคุณไปปรากฎบนผลการค้นหาได้มากขึ้น ไม่ว่าลูกค้าจะค้นหาสินค้าโดยตรงหรือโดยอ้อม ก็มีโอกาสไปอยู่บนหน้า SERP ของเขาได้เช่นกัน
เครื่องมือสำหรับการทำ Keyword Research นั้นมีอยู่หลากหลาย หากคุณทำโฆษณาใน Google Ads อยู่แล้ว ลองใช้เครื่องมือ Google Keyword Planner แต่ถ้าไม่ ก็ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ให้ได้ลองใช้เช่นกัน เช่น Ahrefs หรือ Ubersuggest เครื่องมือบางตัวสามารถใช้ได้ฟรี ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมกันดูครับ
Long-tail Keywords
หากคุณเพิ่งก้าวเข้าสู่สังเวียน SEO แนะนำให้เริ่มเน้นที่ Long-tail Keyword ก่อน โดย Long-tail Keyword คือ Search Query ที่มีตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป อาจเป็น "วิธีทำชีสเค้กญี่ปุ่นนุ่มเด้ง" แทนที่จะเป็นแค่ "สูตรชีสเค้ก"
คีย์เวิร์ดยาว ๆ เหล่านี้มักมีปริมาณ Search Volume ต่อเดือนที่น้อยกว่า แต่ขณะเดียวกันการแข่งขันก็จะน้อยกว่าคีย์เวิร์ดสั้นเช่นกัน
สำหรับวิธีหา Long-tail Keyword ง่าย ๆ ทำได้ด้วยฟีเจอร์ Google Autocomplete นั่นเอง เชื่อว่าหลายคนใช้ฟีเจอร์นี้อยู่ทุกวันโดยไม่ทันได้เอะใจ เมื่อเราพิมพ์อะไรลงในกล่องค้นหาของ Google จะขึ้นคำแนะนำเพื่อให้คุณหาสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น หรืออีกวิธีคือเลื่อนลงไปด้านล่างหน้า SERP ซึ่ง Google เองก็จะแนะนำคีย์เวิร์ดที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ค้นหามาให้ด้วย ลองจดคำแนะนำเหล่านี้เอาไว้ใช้ในภายหลัง
ปรับแต่งเว็บไซต์
ถ้าจะให้ง่าย แนะนำให้เริ่มทำ SEO ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้สามารถสร้างเว็บไซต์ได้จากหน้าเปล่าและสามารถปรับแต่งให้ตรงตามมาตรฐานของ Google ตั้งแต่แรกเลย หรือถ้าคุณมีเว็บไซต์เก่าที่ไม่ได้อัปเดตมานาน นี่ก็เป็นโอกาสดีที่จะแปลงโฉมเว็บไซต์คุณใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์กลยุทธ์ การทำ SEO เพื่อธุรกิจคุณ
On-page SEO หรือ การทำ SEO ภายในเว็บไซต์ด้วยการกระจายคีย์เวิร์ดในองค์ประกอบต่าง ๆ ของหน้าเพจ เช่น HTML Tag ต่าง ๆ ช่วยให้ Search Engine หาคีย์เวิร์ดในหน้านั้นได้ง่ายขึ้น แต่ขอเตือนให้ระวังอย่าใช้คำเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมาบ่อยจนเกินไปครับ
มาเริ่มจากเครื่องมือจัดการ HTML Tag กันก่อน หากเว็บไซต์ของคุณทำงานบนระบบ Wordpress เหมือนเรา ขอแนะนำให้ติดตั้งปลั๊กอิน SEOPress ที่จะช่วยให้สามารถปรับแต่งแท็กต่าง ๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หากติดตั้งเสร็จแล้ว เรามาทำความรู้จักกับ HTML Tag ที่สำคัญ ๆ กันดีกว่า
1. Title Tag
Title Tag ใช้สำหรับปรับแต่งคำพาดหัวที่เราเห็นในหน้าผลการค้นหา เรียกได้ว่าเป็นแท็กที่สำคัญที่สุดของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ Title Tag นี้เป็นตัวช่วยสรุปใจความสำคัญของหน้าเว็บไซต์นั้น และช่วยให้ Google รู้ว่าหน้านั้นเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดอะไร ควรเขียนแท็กนี้ให้มีความน่าสนใจมากพอที่จะดึงให้ผู้ใช้คลิกลิงก์เข้ามาในเพจของเรา ฉะนั้นสมดุลระหว่างการทำ SEO และประสบการณ์การใช้งานที่ดีคือสิ่งสำคัญของแท็กนี้
Title Tag นี้ควรมีความยาวไม่เกิน 50-60 ตัวอักษร เพราะ Google จะตัดส่วนที่เกินออก การเขียน Title Tag ควรเขียนให้มีคีย์เวิร์ดที่เราโฟกัส พร้อมข้อมูลหรือประเด็นสำคัญ ๆ ไว้ในลิมิตนั้น โดยมีก็อปปี้ที่เร้าอารมณ์และดึงดูดใจมากพอด้วย
2. Meta Description
Description ที่ว่านี้จะปรากฎเป็นคำโปรยใต้พาดหัวในหน้าผลการค้นหา แม้ว่า Google จะเคยระบุไว้ว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับแท็กในการจัดอันดับนี้มากนักและสามารถเว้นไว้ได้เลย แต่อย่างไรก็ยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สร้างความน่าดึงดูดและเพิ่มอัตรา Click-through ได้มากขึ้นอยู่ดี
เช่นเดียวกับ Title Tag ตัว Meta description นี้ควรเขียนให้กระชับและชัดเจนภายในลิมิต 150-160 ตัวอักษร บางครั้งการเขียนก็อปปี้ดี ๆ ที่โฟกัส Long-tail Keyword หรือหลายคีย์เวิร์ดพร้อมกันก็อาจไม่ใช่เรื่องง่าย ในกรณีนี้เราสามารถเว้น Meta Description ไว้ และ Google จะสแกนหน้าเพจและเติมคำโปรยด้วยการดึงโควทมาให้เอง
3. Header Tags (H1-H6)
การมีหัวข้อที่ชัดเจนทำให้หน้าเพจอ่านง่ายทั้งต่อผู้อ่านที่เป็นคนและ Search Engine ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่อ่านบทความแบบข้าม ๆ สแกนหน้าเว็บจนกว่าจะเจอพาร์ทที่สนใจ อ่านพาร์ทนั้นนิดหน่อย และกดออก
ถ้าหากไม่มี Header ในบทความ ข้อความยาวเหยียดก็อาจทำให้หลายคนกดออกตั้งแต่ยังไม่เริ่มอ่าน ฉะนั้นจากมุมมองของผู้ใช้ Header จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้อ่านบทความง่ายขึ้น ส่วนมุมมองของ Search Engine คือช่วยให้ Crawler Bot ทำความเข้าใจหน้าเพจนั้นว่าเกี่ยวกับอะไร
และนี่คือ หลักการทำ SEO Header Tags ที่ดี
อย่าใช้ H1 Tag เกินหนึ่งครั้ง - H1 เป็นเหมือนชื่อเรื่องหรือหัวข้อบทความที่ปรากฎในเว็บไซต์ ซึ่งต่างกับ Title Tag ที่ปรากฎในหน้า SERP ฉะนั้น Google จึงให้ความสำคัญกับสองแท็กนี้เท่า ๆ กัน
พยายามไม่ลงลึกเกิน - ไม่ควรลงไปลึกเกิน H3 เว้นแต่กรณีที่จำเป็นจริง ๆ แนะนำว่าให้ใช้ H1 สำหรับชื่อเรื่อง H2 สำหรับหัวข้อหลัก และ H3 สำหรับหัวข้อย่อย
เชื่อมโยง Header กับ Search Query - Header Tag แต่ละตัวควรมีความใกล้เคียงกับ Search Query หรือเป็นคำตอบของคำถามนั้น และไม่ลืมใส่คีย์เวิร์ดลงไปด้วย
4. Image Alt Text
จุดประสงค์ของ Image Alt Text คือช่วยในการจัดระเบียบรูปภาพในเว็บไซต์ของคุณ และช่วยให้ผู้ใช้รู้ว่าภาพนี้เกี่ยวกับอะไรแม้ในกรณีที่ดูภาพนั้นไม่ได้ หากมีองค์ประกอบในไหนเว็บไซต์ที่เป็นไฟล์ภาพ ก็ควรเติม Image Alt Text ให้ครบทุกครั้ง
เขียนสักประโยคสองประโยคเพื่ออธิบายภาพของคุณ พยายามให้แต่ละภาพแตกต่างกันไปโดยการระบุรายละเอียดเล็ก ๆ เพิ่มเติม เช่น สี วัสดุ รูปทรง เป็นต้น และเช่นเคย ไม่ควรยัดคีย์เวิร์ดซ้ำ ๆ ซึ่งเหมือนเป็นหลักการจำง่าย ๆ ในการเขียนคอนเทนต์ SEO ไปแล้ว
หากกลัวว่าจะตกหล่นไฟล์ไหนในหน้าเพจ เราแนะนำเครื่องมือ WebSite Auditor ในการสแกนเว็บไซต์และรวบรวมรายชื่อไฟล์ที่ขาด Alt Text ได้อย่างง่ายดาย
สร้างคอนเทนต์ให้โดนใจ
การสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ดีพร้อมกระจายคีย์เวิร์ดอย่างทั่ว ๆ จะช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับใน Search Engine ได้ง่ายขึ้น คีย์เวิร์ดที่ได้มาจาก Keyword Research ก่อนหน้านี้จะได้เฉิดฉาย
การเขียนบทความในบล็อกเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยดึงอันดับให้สูงขึ้น จากการศึกษาของ Hubspot ระบุว่าเว็บไซต์ที่เผยแพร่คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอมียอดเข้าชมมากกว่าถึง 350% ฉะนั้นการมีแต่หน้าแสดงสินค้าหลาย ๆ หน้าไม่ช่วยใน การทำ SEO เท่าบทความคุณภาพสูงสักบทความ การจะเขียนบทความให้สำเร็จ บทความนั้นต้องดีและโดดเด่นไม่จมหายไปในหลายล้านคอนเทนต์ที่เผยแพร่ในแต่ละวัน
บล็อกโพสต์คุณภาพมาในหลายรูปแบบ มาดูตัวอย่างและวิธีทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของโพสต์แต่ละประเภทกัน
ไกด์แบบ Step-by-step น่าจะเป็นประเภทบทความที่ใช้สำหรับ SEO อย่างแพร่หลายที่สุด และมันได้ผลด้วยสิ หากจะเขียนไกด์ประเภทนี้ก็ควรทำให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ทำได้ไปเลย เติมเต็มข้อมูลที่เว็บไซต์อื่นให้ไม่ได้ ยิ่งละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสได้ Backlinks มากยิ่งขึ้น
Complete List คือบทความที่รวบรวมทิป ไอเท็ม เทคนิค สูตรอาหาร หรืออะไรก็ตามที่อยากพูดถึง รายชื่อนี้มีประสิทธิภาพมากเพราะเป็นการรวบรวมจากหลายแหล่งและมาโชว์รวมกันในโพสต์เดียว ทำให้เราสามารถโชว์ทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการเห็นได้ในที่เดียว
คอนเทนต์ข้อมูลเชิงปริมาณมีแนวโน้มที่จะโดดเด่นจากประเภทอื่นในยุค 2023 BuzzSumo ค้นพบว่างานวิจัยที่น่าเชื่อถือและคอนเทนต์อ้างอิงยังมีแนวโน้มได้ Backlink เพิ่มมากขึ้น แม้ในตอนที่ทำการศึกษานี้เป็นช่วงปี 2015 ที่คอนเทนต์ผุดขึ้นทั่วโลกอินเตอร์เน็ต งานวิจัยต้นแบบที่มีข้อมูลเชิงปริมาณมักได้ Backlink มาก และยังทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้อีกเมื่อสร้าง Infographic เพื่อช่วยในการอธิบายข้อมูลเชิงปริมาณนั้นออกมาเป็นภาพที่เข้าใจง่าย
สรุปพื้นฐานหลักการทำ SEO
สำหรับมือใหม่ในโลก SEO เราเชื่อว่ากุญแจสู่ความสำเร็จคือการรู้ว่าลูกค้าของคุณคือใคร คีย์เวิร์ดอะไรที่เขาใช้ค้นหา และสร้างสรรค์คอนเทนต์และปรับแต่งเว็บไซต์โดยอิงจากคีย์เวิร์ดเหล่านั้น แม้ว่าหนทางของการทำ SEO ยังทอดไปอีกยาวไกลและมีรายละเอียดต้องครอบคลุมอีกมาก แต่เราเชื่อว่าหากมีพื้นฐานที่ดีเท่านี้ก็น่าจะเริ่มต้นก้าวสู่สังเวียน SEO ได้อย่างมั่นใจ
คำถามที่พบบ่อย
SEO คืออะไร และทำงานอย่างไร?
Search Engine Optimization (SEO) คือกระบวนการในการทำให้เว็บไซต์หรือเนื้อหาไต่อันดับสูงขึ้นบน Search Engine เกี่ยวข้องกับการนำเนื้อหาออนไลน์มาแสดงในที่ที่เหมาะสม เพื่อให้แสดงผลใน Google Search เมื่อมีคนค้นหาบางสิ่งด้วย Keyword ที่ระบุ
ฉันสามารถทำ SEO ด้วยตัวเองได้ไหม?
คำตอบคือได้ คุณสามารถทำการตลาด SEO ได้ด้วยตัวเอง เช่นเดียวกับการตลาดออนไลน์รูปแบบอื่น ๆ ทุกคนสามารถเรียนรู้วิธีการทำ SEO สำหรับธุรกิจของตัวเองหากมีการค้นคว้าหาความรู้และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
การทำ SEO ต้องเสียเงินไหม?
การทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google นั้นทำได้ฟรี และไม่มีใครสามารถจ่ายเงินเพื่ออันดับที่ดีขึ้นได้ เพราะ Google ตั้งมั่นที่จะทำให้เนื้อหาการค้นหามีประโยชน์และน่าเชื่อถือที่สุดสำหรับผู้ใช้
SEO Marketing เรียนรู้ยากไหม?
ตัวการทำ SEO เองอาจง่ายกว่าที่คุณคิด แต่ก็ไม่ควรประมาทเรื่องเวลาที่ต้องเสียและความพยายามที่ต้องใช้เพื่อที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับ อย่าคาดหวังว่าเว็บไซต์หรือหน้าเพจของคุณจะติดอันดับในเวลารวดเร็วหากคุณใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีต่อวัน การตลาดดิจิทัลต้องการการวิเคราะห์ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ SEO
Search Engine 3 ประเภทมีอะไรบ้าง?
Search Engine ในปัจจุบันแบ่งออกเป็นสามประเภทตามวิธีการทำงาน ได้แก่:
Crawler based search engines.
Human powered directories.
Hybrid search engines.
Other special search engines.
Search Engine ยอดนิยม 5 อันดับมีเจ้าไหนบ้าง?
Search Engine 5 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุดในโลกได้แก่ Google, Bing, Yahoo, Baidu, และ Yandex อ้างอิงจาก Netmarketshare, Statista และ StatCounter
ต้องการตัวช่วยใน การทำ SEO ใช่ไหม?
หากแบรนด์ของคุณต้องการความช่วยเหลือใน การทำ SEO Marketing ทีมงานมืออาชีพที่ Sphere พร้อมให้คำปรึกษาในการปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณให้ไต่อันดับท่ามกลางการแข่งขันในตลาด Search Marketing ที่ดุเดือด อ่านรายละเอียดบริการ SEO ของเรา และ ติดต่อมาได้เลย