ขายของ Shopee ดีไหม ทุกสิ่งที่ควรรู้ก่อนขายบนช้อปปี้ [Guide]

ขายของ Shopee ดีไหม ทุกสิ่งที่ควรรู้ก่อนขายบนช้อปปี้ [Guide]

ขายของ Shopee ดีไหม ทุกสิ่งที่ควรรู้ก่อนขายบนช้อปปี้ [Guide]

ขายของ Shopee ดีไหม ทุกสิ่งที่ควรรู้ก่อนขายบนช้อปปี้ [Guide]

Sphere Agency Hero Image
Sphere Agency Hero Image
Sphere Agency Hero Image
Sphere Agency Hero Image

ทุกวันนี้ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางส่วนมากเริ่มเข้ามาขายบนแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้น แม้แต่เจ้าใหญ่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็มีช่องทาง eCommerce ของตัวเองหรือ Social Commerce Platforms อย่าง Amazon, eBay, Alibaba, Facebook Shops และอื่น ๆ และแพลตฟอร์มที่เราจะมาพูดถึงวันนี้ก็คือช้อปปี้


Shopee เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักธุรกิจรายย่อยสามารถเริ่มขายของออนไลน์ได้ด้วยต้นทุนไม่สูงมาก แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงและอุปสรรคจากความต้องการตลาดที่แปรผันกับราคาสินค้าอย่างมาก แต่ธุรกิจ eCommerce ก็เติบโตอย่างรวดเร็วในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีที่จะโตขึ้นไปอีกอย่างน้อยอีก 10 ปี ช่องทางการขายของช้อปปี้เป็นแหล่งลองตลาดที่ดีของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มือใหม่ เพราะช้อปปี้มอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ค้าหลายอย่าง เช่น ฟรีค่าส่งสินค้า ส่วนลด แคชแบ็ค และอื่น ๆ อีกมากมาย


คุณอาจเริ่มสนใจ และสงสัยว่าขายของ Shopee วันนี้ดีไหมในปี 2023 มาหาคำตอบไปด้วยกันเลยครับ

Shopee UI






มารู้จักกับช้อปปี้กันสักหน่อย


ช้อปปี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2015 ที่ประเทศไต้หวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นแพลตฟอร์ม eCommerce ยอดนิยมที่สุดในไทย โดยมีผู้เข้าใช้กว่า 51.24 ล้านคนต่อเดือน และมีฐานผู้ใช้ในแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แข็งแกร่ง โดยช้อปปี้ดำเนินการในอินโดนีเซีย ไต้หวัน เวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลย์เซีย และสิงคโปร์


เริ่มแรกช้อปปี้ใช้โมเดลธุรกิจแบบ Consumer-to-consumer (C2C) Marketplace แต่ปัจจุบันได้ปรับเป็นโมเดลลูกผสมกับ Business-to-consumer (B2C) ไปในเวลาเดียวกัน โดยแพลตฟอร์มนี้มีลักษณะคล้าย Taobao ของจีนที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถสื่อสารกันได้เองโดยตรง


ในปี 2016 ช้อปปี้ฟิลิปปินส์เปิดตัว Shopee University ศูนย์การเรียนรู้ที่รวบรวม Workshop และ Tutorial ต่าง ๆ เพื่อช่วยปรับพื้นฐานให้ผู้ค้ารายใหม่ประสบความสำเร็จในการขายของช้อปปี้

Shopee University






ในปี 2017 Shopee Mall เปิดตัวในไต้หวัน เพื่อเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างชาติเข้ามาขายสินค้าในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยได้ และเชื่อมต่อภูมิภาคต่าง ๆ เข้าด้วยกันด้วยพลังแแห่งเทคโนโลยี ปัจจุบันมีผู้ค้ากว่า 11,000 รายใน 7 ประเทศทั่วทั้งภูมิภาค


ต่อมาในปี 2018 ช้อปปี้ได้เปิดตัว China Marketplace Portal ที่เชื่อมไปยังตลาดจีนแผ่นดินใหญ่โดยไม่มีค่าขนส่งและค่านายหน้าเพิ่มเติม เปิดฉากแข่งขันกับ Taobao Collection ของลาซาด้าอย่างเต็มตัว


ช้อปปี้มอบประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์ที่สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว และสนุกให้กับผู้ใช้กว่าหลายสิบล้านคนทั่วโลกในทุก ๆ วัน ให้บริการชำระเงินและสั่งซื้อที่ไร้รอยต่อ ช้อปปี้ในแต่ละประเทศมีเอกลักษณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ค้าลงเล่นในแต่ละตลาดที่แตกต่างกันได้อย่างประสบความสำเร็จ


ทุกวันนี้ ช้อปปี้คือแอปฯ ช้อปปิ้งที่ได้รับความนิยมสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือน ยอดดาวน์โหลด และระยะเวลาที่ใช้บนแอปฯ และในปี 2020 ก็ได้ขึ้นเป็นแอปฯ ที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดอันดับ 3 ของโลก ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้าน "Best APAC Buzz Rankings 2020" และอันดับ 8 ด้าน "Best Global Brands 2020" จาก YouGov อีกด้วย






แนวโน้มวงการช้อปปิ้งออนไลน์ในไทยเป็นอย่างไรบ้าง?


ธุรกิจ eCommerce และ Social Commerce ในไทยกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในปี 2017 ปีเดียว ผู้บริโภคชาวไทยใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ไปกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเกือบ 2 เท่าของปี 2016 และในปีนี้เรายังคาดหวังว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นไปอีก ภายในสิ้นปี 2022 จะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถึง 54.50 ล้านคนในประเทศไทย และในจำนวนนี้คาดเดาว่าจะใช้บริการช้อปปิ้งออนไลน์ถึงเกือบครึ่งหนึ่ง ฉะนั้น หากคุณกำลังวางแผนจะเข้ามาขายของผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างลาซาด้า เวลานี้เป็นช่วงที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว


นอกจากนี้ บริษัทใหญ่ต่าง ๆ ก็เริ่มเข้ามาขายสินค้าและบริการบน Lazada App กันอย่างมากหน้าหลายตา ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เทคโนโลยีอย่าง Samsung, LG, Asus, Acer, HP, Dell, Lenovo, Toshiba, Fujifilm, Canon, Nikon, Olympus, Panasonic, Sony, Microsoft, Intel, AMD, Qualcomm, Garmin, Bose, Philips, Apple, Amazon, eBay, Rakuten, Alibaba Group, JD.com, Haier, TCL Communication, Xiaomi, Oppo, Vivo หรือ OnePlus เป็นต้น


อ่านต่อได้ในบทความ 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal






ขายของ Shopee มีดีอย่างไร?



1. ฐานผู้ใช้ที่แข็งแกร่ง


ผู้ขายจะได้ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าผ่านทางออนไลน์ของช้อปปี้ ที่ได้สร้างชื่อเสียงและมีฐานผู้ใช้ที่แข็งแกร่งทั่วทั้งภูมิภาค ทำให้ Awareness ของร้านที่ตั้งเองนั้นเทียบไม่ได้เลยกับร้านค้าบนแพลตฟอร์มแห่งนี้ เมื่อคุณเลือกที่จะขายบนช้อปปี้คุณจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย ๆ โดยอาศัยฐานผู้ใช้ของแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วหลายล้านคน


ลูกค้าบนช้อปปี้มักจะไม่ค้นหาร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งโดยเฉพาะในการซื้อครั้งแรก แต่พวกเขาอาจกำลังมองหาสินค้าที่มีในร้านของคุณแทน หากคุณได้ลูกค้าผ่านการค้นหาด้วยความช่วยเหลือของแพลตฟอร์ม eCommerce ออนไลน์ยักษ์ใหญ่แห่งนี้ คุณสามารถชนะใจพวกเขาในฐานะผู้ซื้อซ้ำด้วยการให้บริการที่เป็นเลิศ



2. ประสบการณ์ช้อปปิ้งที่น่ารื่นรมย์


แอปช้อปปี้เป็นแบบ Mobile-only และมีความเป็น Social Platform สูง ทำให้ผู้ขายต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับชื่อเสียงของร้านค้าและฐานแฟนคลับที่สะสมมา ด้วยการมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้ซื้อ



3. ไร้ค่าธรรมเนียมธุรกรรม


มีค่าธรรมเนียมเล็กน้อยที่ผู้ขายต้องจ่ายในทุกธุรกรรม แต่ถึงอย่างนั้นช้อปปี้ก็ไม่เก็บค่าคอมมิชชั่นจากผู้ขาย ซึ่งช่วยให้ผู้ขายมีรายได้มากขึ้นและลดรายจ่ายลงได้



4. เลือกใช้ Shopee Ads


ผู้ขายสามารถเลือกใช้โฆษณาแบบเนทีฟและซื้อโฆษณา Shopee Ads แบบชำระเงินได้ตามความต้องการ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงลูกค้าคุณภาพในวงกว้างทั่วทั้งแพลตฟอร์ม



5. ตลาดที่เติบโตต่อเนื่อง


ช้อปปี้มีส่วนแบ่งตลาดในไต้หวันและอินโดนีเซียที่แข็งแกร่ง รวมถึงตลาดประเทศไทยและมาเลเซียต่างก็เติบโตอย่างรวดเร็วและมีศักยภาพสูง


ช้อปปี้รองรับถึง 6 ภาษา ช่วยให้เกิดเป็นประสบการณ์ Multilingual อย่างแท้จริง รวมถึงปูทางสู่ความสำเร็จในระดับ Global อีกด้วย



6. ความต้องการสินค้าบางประเภทสูงเป็นพิเศษ


แฟชั่น ความงาม และของตกแต่งบ้านเป็นหมวดหมู่ยอดนิยมในหมู่ผู้บริโภคบนช้อปปี้ ร้านค้าในหมวดหมู่เหล่านี้จะได้เปรียบในการขายที่นี่มากขึ้น



7. ส่งสินค้าฟรี


หนึ่งในข้อดีหลักของการขายกับช้อปปี้คือการจัดส่งฟรีสำหรับสินค้าน้ำหนักต่ำกว่า 5 กิโลกรัม ผู้ค้าที่ขายสินค้าขนาดเล็กต้องถูกใจสิ่งนี้แน่นอน



8. เครือข่ายโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง


ช้อปปี้ร่วมมือกับผู้ให้บริการจัดส่งกว่า 70 รายทั่วภูมิภาคเพื่อให้บริการด้านลอจิสติกส์แก่ผู้ใช้งาน โดยในประเทศไทยได้ร่วมมือกับ Flash Express, BEST Express, J&T Express, DHL Domestic และ Kerry เพื่อรับสินค้าและจัดส่งภายในประเทศ

ขายของ Shopee






จะเริ่มขายสินค้าบนช้อปปี้อย่างไรดี?


หากคุณต้องการขายสินค้าบนช้อปปี้ ก่อนอื่นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้านั้นไม่อยู่ในรายการสินค้าต้องห้ามของ Shopee ในบทความถัดไปเราจะมาแสดงขั้นตอนการสมัคร และอธิบายทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าร้านค้าใน Shopee Marketplace และ Shopee Mall คุณจะได้เรียนรู้วิธีตั้งค่าร้านค้าออนไลน์และประสบความสำเร็จในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแห่งนี้ ติดตามไว้นะครับ






คำถามที่พบบ่อย



ขายของในช้อปปี้เสียค่าอะไรบ้าง?


นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียนธุรกิจของคุณกับ DIT (หากคุณเลือกที่จะจดทะเบียนใน Shopee Mall) การขายของ Shopee นั้นฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนเพื่อเป็นผู้ขาย และที่สำคัญกว่านั้นคือไม่มีค่าคอมมิชชั่นอีกด้วย



Shopee Seller มีกี่ประเภท?


บนแพลตฟอร์มนี้มีประเภทของผู้ขายแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยเลือกได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครเข้าเป็นผู้ค้า ดังนี้


  • Marketplace

  • Preferred

  • Shopee Mall


ผู้ขายแต่ละประเภทสามารถเป็นผู้ขายแบบ Local หรือ Cross-border ก็ได้



จะขายของบน Shopee Marketplace หรือ Shopee Mall ดี?


Shopee Marketplace เป็น E-Marketplace แบบเปิดที่ไม่ว่าใครก็สามารถลงทะเบียนและเริ่มขายได้ ในทางกลับกัน Shopee Mall มีไว้สำหรับแบรนด์ที่ผ่านเกณฑ์เฉพาะ โดยแบรนด์เหล่านี้จะสามารถเข้าถึงเครื่องมือส่งเสริมการขายขั้นสูงของ Shopee และสามารถเข้าร่วมแคมเปญของ Shopee ที่มีอย่างสม่ำเสมอ



Shopee University คืออะไร?


Shopee University มีชั้นเรียนฝึกอบรมออนไลน์ฟรีสำหรับผู้ค้าที่ลงทะเบียนกับช้อปปี้ หลักสูตรในนี้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ มากมาย ซึ่งรวมไปถึงการทำยอดขาย การยิงโฆษณา Shopee Ads และการปรับแต่งสินค้า Shopee University มีโปรแกรมและคุณสมบัติที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณเติบโตทางธุรกิจและเพิ่มยอดขายอย่างยั่งยืน



สินค้าที่ห้ามขายบนช้อปปี้มีอะไรบ้าง?


ช้อปปี้มีนโยบายกำหนดห้ามจำหน่ายสินค้าบางรายการบนแพลตฟอร์มโดยไม่มีข้อแม้ โดยรายการสินค้ามีดังนี้:


  1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  2. ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า

  3. วัตถุโบราณ หรือ ซากโบราณสถาน

  4. เครื่องสำอางใช้แล้ว

  5. เงินสกุลไทยและต่างประเทศ

  6. สแตมป์ปลอม

  7. บัตรเครดิตและบัตรเดบิต

  8. ยาเสพติด ยารักษาโรค ยากระตุ้นอารมณ์ทางเพศ

  9. กล้องสอดแนม หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม

  10. สินค้าที่มีคำกล่าวอ้างทางการแพทย์


ดูรายละเอียดสินค้าต้องห้ามทั้งหมดได้ ที่นี่



E-Marketplace คืออะไร?


E-Marketplace หรือ Electronic Marketplace คือเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์ม eCommerce หรือ Social Media Commerce ที่รวมร้านค้ามากมายไว้ในที่เดียว คล้ายกับตลาดนัดหรือห้างสรรพสินค้า รูปแบบการให้บริการของ E-Marketplace เปิดให้ผู้สนใจเปิดร้านแล้ว ผู้ขายสามารถขายสินค้าผ่าน E-Marketplace มักจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การชำระเงิน การสั่งซื้อสินค้า บริการจัดส่ง เครื่องมือทางการตลาด การส่งเสริมการขาย การวางแผนธุรกิจ และศูนย์ส่งเสริมธุรกิจ






อยากเริ่มขายของบนช้อปปี้แล้วหรือยัง?


หากคุณกำลังวางแผนที่จะสมัครขายของบนช้อปปี้แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปที่ไหนและต้องทำอย่างไร ทีมงาน Sphere Agency พร้อมดูแลคุณตลอดกระบวนการ ไม่ต้องกังวลเรื่องการสร้างบัญชี เดินเรื่องเอกสาร Social Media Marketing ไปจนถึงการขายสินค้าชิ้นแรกของคุณในที่สุด! เข้ามาดูรายละเอียดบริการ eCommerce Service และติดต่อเราวันนี้!

Written By

Sphere Agency team

Apr 11, 2022

Written By

Sphere Agency team

Apr 11, 2022

Written By

Sphere Agency team

Apr 11, 2022

Written By

Sphere Agency team

May 29, 2023

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2025

 Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อสำหรับแบรนด์ ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2025

Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2025

 Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2025

 Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย