รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

Sphere Agency Hero Image

เศรษฐกิจทั่วโลกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหลังเกิดภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส ธุรกิจในประเทศไทยทั้งน้อยใหญ่ล้วนสูญเสียรายได้และฐานลูกค้า โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและค้าปลีก ย้อนกลับไปสมัยที่เราทุกคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน eCommerce (อีคอมเมิร์ซ) และ Social Shopping Platform ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Facebook Shopping, JD Central และ Alibaba กลายเป็นช่องทางกระแสหลักที่ผู้บริโภคชาวไทยใช้จับจ่ายสินค้าในชีวิตประจำวัน ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมส่วนมากก็เริ่มประยุกต์ใช้อีคอมเมิร์ซเพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้


สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ นี่คือ 3 เทรนด์อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่ควรรู้หลังวิกฤติโรคระบาด พร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ New Normal ในปี 2021 และอนาคตต่อ ๆ ไป






พฤติกรรมการช้อปสินค้าออนไลน์เปลี่ยนไป


ช่วงก่อนผู้บริโภคมียอดการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่พุ่งสูงขึ้นเนื่องจากนโยบายล็อกดาวน์ที่รัฐบาลทั่วโลกนำมาใช้ช่วงภาวะวิกฤติ ตัวเลขที่มีผลต่อวงการอีคอมเมิร์ซก็สูงขึ้นในระดับโลกเช่นกัน


จากการรายงานของ Hootsuite เมื่อเดือนเมษายน 2020 กว่า 74% ของผู้ใช้อายุ 16-64 ปีระบุว่าเคยซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 9 ในการจัดอันดับประเทศที่มีส่วนแบ่งอีคอมเมิร์ซเทียบกับการซื้อขายโดยรวมมากที่สุด โดยมีส่วนแบ่งถึง 10% ในช่วงภาวะวิกฤติ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ย 47% ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้ามากกว่าที่เคย


ในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาดในประเทศไทย ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยอย่าง Lazada ระบุว่ายอดขายช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายนพุ่งสูงขึ้นถึง 100% (Bangkok Post) ผู้บริโภคใช้เวลาในการใช้งานเว็บไซต์ออนไลน์ช้อปปิ้งมากกว่าก่อนล็อกดาวน์ถึง 11% ต่อการเข้าหนึ่งครั้ง Lazada ประเทศไทยคาดการณ์ว่าอีคอมเมิร์ซจะกลายเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคในชีวิตวิถีใหม่ต่อไป


พูดง่าย ๆ คือเราจะช้อปออนไลน์กันเป็นปกติแม้หลังคลายล็อกดาวน์

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal






ประเภทสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด


ก่อนภาวะโรคระบาดจะทวีความรุนแรง ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดผ่านช่องทางออนไลน์คือท่องเที่ยวและที่พัก ด้วยยอดการซื้อขายกว่าเกือบสองแสนล้านบาทในปี 2019 และสินค้าที่เติบโตเร็วที่สุดคืออาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ +22%


นโยบายการปิดประเทศและปิดน่านฟ้าทั่วโลกส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมียอดการซื้อขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ลดลงถึง -92% ในขณะที่เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์ DIY กลับได้อานิสงส์กว่า +120% ในช่วงที่ผู้บริโภคชาวไทยล้วนห่วงสุขภาพของตนเองเป็นอันดับ 1 ยอดความต้องการเจลล้างมือทางช่องทางออนไลน์พุ่งสูงถึง +8000% เนื่องจากมีการกักตุนสินค้าประเภทนี้ขึ้น


Hootsuite รายงานตัวเลขความสนใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารและของชำ เครื่องใช้ภายในบ้าน และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคอื่น ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้นทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ยอดเข้าใช้งานเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงล็อกดาวน์ทวีคูณขึ้นเท่าตัวเทียบกับ 6 สัปดาห์แรกของปี 2020


เป็นที่น่าจับตามองว่าเทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์จะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังภาวะวิกฤติในวันที่ธุรกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติ

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal






เข้าสู่สังคมไร้เงินสด


ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มใช้ชีวิตไร้เงินสดสำหรับการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ มียอดการซื้อสินค้าออนไลน์เพียง 12% เท่านั้นที่จ่ายด้วยเงินสด ในขณะที่รูปแบบการจ่ายเงินแบบ Point-of-sale (POS) หรือเรียกอีกอย่างว่า QR Code Payment มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 23% ในปี 2021 อ้างอิงจากสถิติของ Statista


ปัจจัยนี้อาจส่งผลต่อทั้งธุรกิจออนไลน์และร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม นักการตลาดควรอำนวยความสะดวกผู้บริโภคโดยการทำให้การจ่ายเงินรูปแบบดิจิทัลง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal






อนาคตของอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยจะเป็นอย่างไร?


จากที่ยักษ์ใหญ่ของวงการอีคอมเมิร์ซในไทยอย่าง Lazada ได้คาดการณ์ไว้ ออนไลน์ช้อปปิ้งจะมีอิทธิพลกว่าที่เป็นอยู่ เราจะซื้อของออนไลน์ไม่ใช้เพราะต้องหาบางอย่างที่มีขายผ่านทางออนไลน์เท่านั้น แต่เราจะซื้อของออนไลน์เพราะเราซื้อง่ายได้ด้วยปลายนิ้ว นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้ที่กำลังเริ่มใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดในชีวิตประจำวัน ชีวิตวิถีใหม่นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโลกใบใหม่ที่เราทุกคนต้องอยู่ต่อไป และอนาคตก็เอาแน่เอานอนไม่ได้เสียทีเดียว เตรียมตัวเองให้พร้อมไว้เสมอ






คำถามที่พบบ่อย



อีคอมเมิร์ซคืออะไรกันแน่?


อีคอมเมิร์ซคือการซื้อและขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการโอนเงินและข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมให้เสร็จสิ้น เรียกอีกอย่างว่าการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการค้าทางอินเทอร์เน็ต



อีคอมเมิร์ซมีกี่ประเภท?


อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ธุรกิจกับธุรกิจ (เช่น Shopify) ธุรกิจกับผู้บริโภค (เช่น Amazon) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค (เช่น eBay)



บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใดที่ใหญ่ที่สุดในโลก


นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 Amazon ได้กลายเป็นชื่อที่คุ้นเคยเมื่อพูดถึงการช็อปปิ้งออนไลน์ ปัจจุบันบริษัทมีรายได้มากที่สุดในโลก



ทำไมอีคอมเมิร์ซถึงประสบความสำเร็จ?


ลูกค้าจะได้รับข้อมูลอัปเดตแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ข้อเสนอสุดพิเศษและแผนการส่งเสริมการขาย รวมถึงตัวเลือกการซื้อแบบกดครั้งเดียว ซึ่งทำให้การค้าออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างมาก เป็นไปได้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับธุรกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นด้วยข้อเสนอเฉพาะสถานที่ตั้งของอุปกรณ์เคลื่อนที่



อนาคตของอีคอมเมิร์ซคืออะไร?


อีคอมเมิร์ซจะเฟื่องฟูต่อไปทั่วโลก โดยคาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2566 ภายในปี 2564 มีการคาดการณ์ว่าผู้ซื้อประมาณ 2.1 พันล้านคนจะซื้อสินค้าและบริการทางออนไลน์ และที่น่าสนใจคือ นักช็อปออนไลน์จำนวนมากอาศัยอยู่นอกสหรัฐอเมริกา



เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทำเงินได้อย่างไร?


อีกวิธีหนึ่งที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสร้างรายได้ที่สำคัญต่อการเติบโตในระยะยาวของพวกเขาคือผ่านโฆษณาที่ตรงเป้าหมายซึ่งมุ่งสู่ลูกค้าและช่องที่ทำกำไรได้ตั้งแต่เริ่มต้น การใช้โฆษณาเฉพาะผลิตภัณฑ์ช่วยให้บริษัทอีคอมเมิร์ซเติบโต โฆษณารีมาร์เก็ตติ้งยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดโมเมนตัมการเติบโตอีกด้วย






ต้องการตัวช่วยออกแบบกลยุทธ์อีคอมเมิร์ซงั้นหรือ?


หากแบรนด์ของคุณต้องการตัวช่วยทางการตลาดเพื่อรักษาสเถียรภาพทางธุรกิจในตลาดอีคอมเมิร์ซที่มรการแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน ทีม Sphere Agency พร้อมช่วยคุณออกแบบเว็บไซต์ออนไลน์ช้อปปิ้งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ พร้อมบริการอื่น ๆ อีกหลากหลาย ติดต่อเราเลย

Written By

Sphere Agency team

Apr 4, 2022

Written By

Sphere Agency team

Apr 4, 2022

Written By

Sphere Agency team

May 29, 2023

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency. All Rights Reserved.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อสำหรับแบรนด์ ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency. All Rights Reserved.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency. All Rights Reserved.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency. All Rights Reserved.

English

|

ไทย