ในโลกดิจิทัลยุคใหม่ เว็บไซต์บริษัทกลายเป็นสิ่งจำเป็นอันดับต้น ๆ ที่จะกำหนดความสำเร็จของธุรกิจบนโลกออนไลน์ไม่แพ้หน้าเพจทางโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ทำหน้าที่เป็นหน้าร้านหรือเส้นทางที่เชื่อมต่อลูกค้าเข้ามาที่บริษัทของคุณ ช่วยให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่คุณมีได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว และเพื่อให้เว็บไซต์ของคุณทำงานด้านการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด Search Engine Optimization (SEO) ก็กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งเลยก็ว่าได้
จากผลการศึกษาในปี 2019 โดย Brightedge กว่า 53.3% ของยอดเข้าชมเว็บไซต์ทั้งหมดมาจาก Search Engines เช่น Google Bing Baidu หรือ Naver อีกทั้ง SEO ยังสามารถขับเคลื่อนยอดได้มากกว่า Social Media ถึง +1,000% ที่สำคัญคือยอดเข้าชมนี้สามารถได้มา 'ฟรี' ในระยะยาวนานหลายเดือนหรือกระทั่งหลายปี
และการที่ SEO จะมีประสิทธิภาพสูงสุด การทำ Keyword Research ที่รอบคอบเป็นสิ่งจำเป็น บทความนี้เราจะพาคุณไปเรียนรู้ขั้นตอนการค้นหาคีย์เวิร์ดขั้นต้นกัน
คีย์เวิร์ดคืออะไร?
คีย์เวิร์ด (Keyword) เรียกอีกอย่างได้ว่า Search Queries คือ คำหรือวลีที่ผู้ใช้พิมพ์ลงในช่องค้นหาของ Search Engine ส่วนการทำ Keyword Research คือกระบวนการที่ SEO Professionals ใช้ เพื่อค้นหาคำหรือวลีที่คนใช้นั่นเอง
ทำไมการทำ Keyword Research จึงสำคัญ?
คีย์เวิร์ดเป็นรากฐานที่สำคัญอันดับต้นๆ ของการทำ SEO เพราะถ้าไม่มีคนค้นหาคีย์เวิร์ดที่คุณใช้ พยายามให้ตายก็ไม่มีใครเข้าเว็บไซต์คุณได้แน่นอน การทำ Keyword Research จึงเป็นทางเดียวที่จะรู้ว่าผู้ใช้กำลังหาคำประเภทไหน และสิ่งนี้สำคัญต่อการหลีกเลี่ยงการทำคอนเทนต์ที่คนจะไม่ค้นหา หลายๆ เว็บไซต์พลาดในส่วนนี้ และนั่นอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เว็บเพจกว่า 90.63% ไม่มียอด Traffic จาก Google จากการศึกษาของ Ahrefs
Keyword Research ยังช่วยตอบคำถามประเภท:
คีย์เวิร์ดนี้ไต่อันดับยากไหม?
คาดหวัง Traffic ได้ประมาณเท่าไรจากคีย์เวิร์ดนี้?
ต้องผลิตคอนเทนต์แบบไหนมาใช้สำหรับคีย์เวิร์ดนี้?
มีโอกาสคนที่ค้นหาคีย์เวิร์ดนี้จะกลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์ไหม?
หากหาคำตอบเหล่านี้ก็จะช่วยให้คุณเลือกสังเวียนไปลงแข่งได้ถูกที่
จะรู้ได้อย่างไรว่าจะใช้คีย์เวิร์ดไหน?
1. ความเกี่ยวข้อง
คีย์เวิร์ดนั้นควรเข้ากันกับสินค้าหรือจุดประสงค์ของหน้าเพจนั้นๆ ยิ่งคีย์เวิร์ดมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มีเสนอมากเท่าไร คนที่เข้ามาก็มีโอกาสจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าได้มากขึ้น
2. Search Volume
คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดว่าคีย์เวิร์ดที่ดีคือคำที่อธิบายสินค้าหรือบริการที่มีเสนอได้อย่างสมบูรณ์ในภาษาที่ถูกเป๊ะ แต่ความจริงแล้ว คีย์เวิร์ดที่ดีคือคำที่มีคนค้นหาจริงๆ แม้จะเป็นคำที่สะกดผิดอย่าง “life streaming” ก็ตาม ตราบที่มี Search Volume ที่สูงพอ เพื่อการนี้ คุณต้องทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและภาษาที่พวกเขาใช้เพื่อหาคีย์เวิร์ดที่ใช่สำหรับเป้าหมายของคุณ
3. ความยากในการแข่งขัน
เวลาเลือกคีย์เวิร์ด คุณควรเล็งคีย์เวิร์ดที่น่าจะแข่งไปอยู่ที่อันดับ 1-2 ในหน้าผลการค้นหาของ Google ได้ เวลาใช้เครื่องมือ Keyword Research Tool เครื่องมือเหล่านี้จะวิเคราะห์ความยากง่าย หรือ Keyword Difficulty โดยจะแสดงออกเป็นตัวเลขหรือแถบสีๆ Keyword Difficulty จะพิจารณาจาก Domain Authority โดยเทียบกับเว็บไซต์อื่นๆ คุณอาจต้องเริ่มลงทุนในการซื้อโฆษณา Search Ads หรือซื้อ Backlink เพื่อเสริม Authority ของเว็บคุณ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อาจต้องมานั่งพิจารณากันว่าการลงทุนเพิ่มเพื่อแข่งขันในคีย์เวิร์ดสักคำหนึ่งนั้นจะคุ้มค่าไหม
ประเภทของคีย์เวิร์ด
เมื่อรู้แล้วว่าการทำ Keyword Research คืออะไร ขั้นต่อไปเราต้องทำความเข้าใจว่าคีย์เวิร์ดสำหรับ SEO มีแบบไหนบ้าง ขั้นตอนนี้เราจะพยายามหาคำหรือวลี (Search Queries) ที่ผู้ใช้ค้นหา โดยคีย์เวิร์ดนั้นมักแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
Seed Keywords
Seed Keyword คือ Search Queries ที่คนใช้เพื่อค้นหาสินค้า หรือจุดประสงค์บางอย่างแบบกว้างๆ เช่น "หม้อทอดไร้น้ำมัน" Seed Keyword มักมี Search Volume สูงเป็นปกติ เพราะใน Search Queries ที่ยาวขึ้นก็มักจะมี Seed Keyword เป็นองค์ประกอบด้วย เครื่องมือค้นหาคียเวิร์ดจะถามหา Seed Keyword เพื่อไปสร้างรายการแนะนำไอเดียคีย์เวิร์ดอื่นๆ เพิ่มเติมภายหลัง
Niche Keywords
ส่วน Niche Keyword คือ Search Queries ที่เสริมรายละเอียดเพิ่มเติมจาก Seed อีกเล็กน้อย เช่น "หม้อทอดไร้น้ำมัน Phillips" Niche Keyword สามารถใช้ในหน้าแยกประเภทสินค้า เนื่องจากคีย์เวิร์ดประเภทนี้จำกัด "หมวดหมู่" ของสินค้าที่คุณมีบนเว็บไซต์
Long-tail Keywords
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มทำ SEO เราขอแนะนำให้โฟกัสที่ Long-tail Keywords ในขั้นแรกๆ เพื่อสร้างฐานให้มั่นคงก่อน โดย Long-tail Keyword เป็นคำหรือวลีที่มีคีย์เวิร์ดรวมกันอยู่ตั้งแต่ 3 คำขึ้นไป โดยส่วนใหญ่หากเป็นการค้นหาสินค้า คีย์เวิร์ดประเภทนี้จะประกอบด้วยคำจำกัดความที่แคบๆ อย่างเช่น รุ่น ราคา สี เป็นต้น ตัวอย่างเช่นแทนที่จะเป็น "หม้อทอดไร้น้ำมัน" ก็อาจเป็น "หม้อทอดไร้น้ำมัน Phillips HD9218 สีดำ" เป็นต้น
คีย์เวิร์ดประเภทนี้โดยส่วนมากจะมี Search Volume น้อยกว่า แต่ก็มีการแข่งขันที่น้อยกว่าไปด้วยเมื่อเทียบกับคีย์เวิร์ดคำเดี่ยว
การปรับแต่งเว็บไซต์ด้วยคีย์เวิร์ดแต่ละประเภทช่วยให้หน้าเพจของคุณติดอันดับบนหน้าผลการค้นหาของ Google ได้ง่ายยิ่งขึ้น เว็บไซต์ของคุณจะปรากฏทั้งเวลาที่ผู้ใช้ค้นหาสินค้าของคุณโดยตรง และไม่ได้ค้นหาสินค้าของคุณโดยตรง
รู้จักเครื่องมือ Keyword Research Tools และ Keyword Planner
มีเครื่องมือ Keyword Research Tools หลากหลายเจ้าให้เลือกใช้ สำหรับใครที่รันแคมเปญโฆษณากับ Google Ad อยู่ ในนั้นจะมีเครื่องมือ Google Keyword Planner ให้ใช้ฟรีอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ ก็ยังมีเครื่องอีกหลายเจ้า เช่น Ahrefs และ Ubersuggest เครื่องมือบางเจ้าเปิดให้ใช้ฟรี เลือกใช้ได้ตามสะดวกครับ
การใช้เครื่องมือช่วยค้นหาคีย์เวิร์ดนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง มันจะแสดง Search Volume ต่อเดือนของคีย์เวิร์ดแต่ละคำ วิเคราะห์ความยากง่ายในการแข่งขัน แถมยังช่วยคำนวณค่า Cost-per-click (CPC) และราคาประมูลที่ควรลงหากอยากรันแคมเปญ Search Advertising สำหรับคีย์เวิร์ดนั้นต่อไป นอกจากนี้เครื่องมือยังช่วยเสนอไอเดียคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับคำที่ต้องการ และสำคัญที่สุดคือ Keyword Research Tool ช่วยในการออดิท SEO Performance ของเว็บไซต์ เช่น Traffic และ Keyword Ranking
ไม่ว่าจะใช้ Keyword Planner ตัวไหน ทุกตัวล้วนมีค่าเมตริกต่างๆ ที่ต้องทำความรู้จัก เพราะคุณต้องทำความเข้าใจเพื่อพิจารณาว่าคีย์เวิร์ดไหนจะเหมาะกับจุดประสงค์มากที่สุด
มาทำความรู้จักค่าเมตริกต่างๆ กัน
Search Volume: ตัวเลขที่แสดงจำนวนการค้นหาต่อเดือนของแต่ละคีย์เวิร์ด Search Volume อาจมากน้อย ขึ้นอยู่กับประเภทของคอนเทนต์และอุตสาหกรรมของแต่ละเว็บไซต์
Keyword Difficulty (KD): วิเคราะห์ความยากง่ายในการแข่งขันแบบ Organic (ไม่จ่ายเงิน) ของแต่ละคีย์เวิร์ด ยิ่งตัวเลขมากยิ่งยากต่อการแข่งขันเพื่อชิงอันดับต้นๆ ในหน้าผลการค้นหา
Cost Per Click (CPC): ราคาที่ต้องจ่าย Search Engine เมื่อมีผู้ใช้กดลิงก์ 1 ครั้ง ในกรณีที่รันแคมเปญ Search Ad ด้วยคีย์เวิร์ดที่ระบุ
Paid Difficulty (PD/PPD): ความยากง่ายสำหรับการรัน Search Ad แน่นอนว่าโฆษณาที่จ่ายเงินก็ต้องมีการแข่งขันเช่นกัน
Estimated Visits per Month (EV): จำนวนครั้งที่คาดการณ์ว่าผู้ใช้จะเข้าชมเว็บไซต์ผ่านลิงก์ในหน้าผลการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดนั้นๆ ในส่วนนี้สามารถดูเลข EV ของเว็บไซต์คู่แข่งเพื่อวิเคราะห์ว่าทำไมถึงมีคนกดเข้าเยอะเพื่อมาปรับปรุงเว็บไซต์ของตัวเองได้
คำถามที่พบบ่อย
การเลือก Search Term ใน SEM กี่ประเภท?
Search Term มี 4 ประเภท Broad Keyword ถือเป็นประเภทคียเวิร์ดพื้นฐาน Broad Match Modifier คือคำหลักที่มี '+' อยู่ในนั้น Phrases คือคียเวิร์ดที่ใส่ใน "-" และสุดท้าย Exact
ควรนำคีย์เวิร์ดที่ได้ไปใช้อย่างไร?
เป็นความคิดที่ดีที่จะใช้คีย์เวิร์ดหลักของคุณในย่อหน้าแรกๆ ต่อมาให้ใช้รูปแบบต่างๆ ของคำนั้นตลอดทั้งบทความ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการใช้ LSI Keyword ไว้ด้วยแทนที่จะใส่คีย์เวิร์ดแบบเป๊ะ ๆ ทุกครั้ง
สามารถใช้ประโยคยาวแทนคำคำเดียวได้ไหม?
เมื่อ Search Engine ตัวแรก ๆ เปิดตัว ผู้ใช้จำนวนมากใช้คำเดี่ยว ๆ ในการค้นหาเนื่องจากอัลกอริธึมที่ค่อนข้างเรียบง่าย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเครื่องมือค้นหารองรับ Keyphrase ที่มีคำอย่างน้อย 2 คำขึ้นไปแล้ว
Keyword กับ Keyphrase ต่างกันอย่างไร?
ข้อแตกต่างที่ชัดเจนเพียงอย่างเดียวระหว่างคำเหล่านี้คือ Keyword คือคำเดียว ในขณะที่ Keyphrase ประกอบด้วยคำสองสามคำขึ้นไป
ควรทาร์เก็ตกี่คีย์เวิร์ด?
ข้อแนะนำสำหรับธุรกิจขนาดเล็กควรเริ่มต้นด้วยคีย์เวิร์ดประมาณ 5 คำ โดยแต่ละคำมี Search Volume ต่อเดือนมากกว่า 100+ ต่อคำ อาจดูเหมือนไม่มาก แต่การกำหนดเป้าหมายคีย์เวิร์ดแค่ 5 คำไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์ของคุณจะแรงค์สำหรับ 5 คำนี้เท่านั้นและไม่มีคำหลักอื่น ๆ
มีวิธีหา LSI Keyword ได้อย่างไร?
Search Engine เป็นเครื่องมือที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการค้นหา LSI Keyword เพียงกรอกคีย์เวิร์ดหลักลงไปและมองหา LSI Keyword ที่เกี่ยวข้องได้ หากคุณค้นหาคำว่า "เว็บไซต์" คุณจะพบ LSI Keyword ต่าง ๆ เช่น "เครื่องมือสร้างเว็บไซต์" หรือ "การออกแบบเว็บไซต์" เป็นต้น
ต้องการตัวช่วยด้าน Search Engine Optimization หรือเปล่า?
หากแบรนด์ของคุณต้องการความช่วยเหลือในการเริ่มทำ SEO ทีมงานมืออาชีพที่ Sphere พร้อมให้คำปรึกษาในการปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณให้ไต่อันดับท่ามกลางการแข่งขันในตลาด Search Marketing ที่ดุเดือด อ่านรายละเอียดบริการ SEO ของเรา และ ติดต่อมาได้เลย