ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) ไม่ว่าหันไปทางไหนในโลกธุรกิจ ทุกคนก็ดูจะพูดถึงคำนี้กันไปทั่ว ซึ่งเราว่าก็สมควรแก่คำร่ำลืออยู่นะ บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้ว ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง คืออะไรกันล่ะ วันนี้เราจะมาอธิบายการตลาดแขนงนี้อย่างง่าย ๆ กันครับ
Digital Marketing คืออะไร?
การตลาดดิจิทัล หรือ Digital marketing คือ การโปรโมทแบรนด์โดยสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลหรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมไปถึงช่องทางอีเมล โซเชียลมีเดีย Search Engine และอื่น ๆ หรือหากอ้างอิงคำพูดของ Neil Patel เจ้าพ่อตัวเป้งของวงการ เขาว่า ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งคือรูปแบบหนึ่งของการตลาดที่ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถทำได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นแนวการตลาดที่ไม่เหมือนที่เคยทำมาในอดีต ทำให้ต้องใช้ความเข้าใจในพฤติกรรมการบริโภคและวิธีเข้าหาลูกค้าที่ต่างไปจากการตลาดดั้งเดิม
ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งคือรูปแบบหนึ่งของการตลาดที่ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถทำได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
การตลาด Digital Marketing ใช้การเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงและใช้วิธีเข้าหาแบบสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์ (Interative Communication) ด้วยข้อเสนอแนะจากลูกค้า หรือการสื่อสารสองทางระหว่างแบรนด์กับลูกค้า เป็นต้น
คนทั่วไปมักสับสนระหว่าง Digital Marketing กับ Internet Marketing ซึ่งจริง ๆ แล้วตัวหลังนี้เป็นหนึ่งในสับเซ็ตของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งอีกที โดยที่ Internet Marketing คือการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ตล้วน ๆ ในขณะที่ Digital Marketing อาจทำผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ เครื่องเกม สถานีรถไฟฟ้า ร้านเน็ต หรืออื่น ๆ ได้
Digital Marketer มีหน้าที่ทำอะไร?
Digital marketers หรือนักการตลาดดิจิทัล รับผิดชอบในการผลักดันให้เกิด Brand Awareness และ Lead Generation ผ่านสื่อดิจิทัล นักการตลาดดิจิทัลเก่ง ๆ จะมีไอเดียในหัวที่ชัดเจนว่าแต่ละแคมเปญผ่านสื่อต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมจุดประสงค์ทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างไร และสามารถส่งเสริมแผนการตลาดที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เข้าถึงได้โดยทั้งแบบฟรีและเสียเงิน โดยขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแผนการตลาดที่วางเอาไว้
นักการตลาดดิจิทัลรับผิดชอบในการผลักดันให้เกิด Brand Awareness และ Lead Generation ผ่านสื่อดิจิทัล
ปัจจุบันงานการตลาดดิจิทัลนั้นถูกกระจายไปในตำแหน่งทางการตลาดต่าง ๆ หากเป็นบริษัทสตาร์ตอัปเล็ก ๆ นักการตลาดคนหนึ่งอาจต้องครอบคลุมงานการตลาดหลายอย่างในคนเดียว ขณะที่ในองค์กรใหญ่จะมีตำแหน่งแยกย่อยเพื่อมารองรับกลยุทธ์เฉพาะทางเหล่านั้น และอาจแบ่งกันโฟกัสกับช่องทางดิจิทัลของแบรนด์กันคนละช่องทางก็ได้
นักการตลาดดิจิทัลมักต้องโฟกัสที่ Key Performance Indicator (KPI) ที่ต่างกันไปตามตำแหน่งงานและสื่อที่ใช้ในการวัดผลของแผนการตลาดผ่านช่องทางต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น งานหลักของ SEO Specialist คือการคอยเช็คยอด Organic Traffic ที่เข้ามายังเว็บไซต์ หรือ Content Marketer ก็ต้องคอยดูยอด Engagement ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่แบรนด์ใช้ เป็นต้น
ช่องทางของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง
การเลือกใช้สื่อดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ถูกต้องจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าช่องทางไหนที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนทั้งเงินและเวลาที่ลงทุนไปกับการโฆษณาแต่ละครั้ง แวดวงดิจิทัลนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มันจึงเป็นการยากที่จะบอกว่าช่องทางไหนที่จะดีและจีรัง
และนี่คือลิสต์ของช่องทางและกลยุทธ์การทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ควรโฟกัส
Website Marketing
เว็บไซต์คือสื่อกลางอันเป็นแก่นของการทำดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งอื่น ๆ แทบทั้งหมด มันเป็นช่องทางที่ทรงพลังในตัวมันเอง และยังเป็นสื่อกลางที่ช่วยในการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ที่จำเป็นอีกด้วย เว็บไซต์หนึ่งควรนำเสนอตัวตนแบรนด์ สินค้า หรือบริการอย่างชัดเจนและน่าจดจำ และต้องตอบสนองไว ปรับให้เหมาะกับอุปกรณ์พกพา และใช้งานง่ายแม้ไม่มีความรู้อะไรเลยก็ตาม
Pay-Per-Click (PPC) Advertising
การโฆษณาแบบ PPC ช่วยให้นักการตลาด Digital Marketing สามารถเข้าถึงลูกค้าด้วยโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลแบบเสียเงินรายครั้ง เราสามารถตั้งแคมเปญ PPC บน Google หรือ Facebook และเลือกให้แสดงโฆษณาเหล่านั้นกับกลุ่มคนที่ค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่แบรนด์นำเสนอ แคมเปญ PPC สามารถจำแนกกลุ่มผู้บริโภคด้วยลักษณะประชากร (เช่นอายุและเพศ) หรือกระทั่งความสนใจรายบุคคลและที่อยู่ก็ได้
Content Marketing
จุดประสงค์ของ Content Marketing คือการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยคอนเทนต์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ แชร์ทางโซเชียลมีเดีย ส่งผ่านอีเมล SEO หรือกระทั่งแคมเปญ PPC ต่าง ๆ เครื่องมือสื่อสารด้วยคอนเทนต์รวมไปถึงพวกบล็อก อีบุ๊ก คอร์สเรียนออนไลน์ อินโฟกราฟิก และพอดแคสต์
Email Marketing
Email marketing ยังเป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังอยู่เสมอมา หลายคนมักเข้าใจผิดว่า Email Marketing คือการส่งเมล Spam ไปก่อกวนผู้บริโภค แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย Email Marketing คือสื่อกลางที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าที่มีความสนใจในสินค้าและบริการของแบรนด์ นักการตลาดมักใช้สื่อดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสมัครรับอีเมลข่าวจากแบรนด์ต่อไป จากนั้นจึงวางแผนต้อนผู้บริโภคตาม Funnel เพื่อเปลี่ยนพวกเขาเป็นลูกค้าของแบรนด์ในที่สุด
Social Media Marketing
จุดประสงค์หลักของแคมเปญการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียคือการสร้าง Brand Awareness และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ เมื่อลงลึกไปมากกว่านั้น แบรนด์อาจใช้โซเชียลมีเดียในการสร้าง Lead Generation หรือแปลงตัวเองเป็นช่องทาง Direct Sale ได้ต่อไป
Search Engine Optimization (SEO)
SEO หรือ Search Engine Optimization คือวิธีทางการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่ม Traffic ตามกลุ่มเป้าหมายเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ผ่าน Google ว่าง่าย ๆ คือการทำให้เว็บของคุณติดหน้าแรกและไต่อันดับในหน้าผลการค้นหา (บางที่เรียก SERP)
จากผลการศึกษาในปี 2019 โดย Brightedge กว่า 53.3% ของยอดเข้าชมเว็บไซต์ทั้งหมดมาจาก Search Engines เช่น Google Bing Baidu หรือ Naver อีกทั้ง SEO ยังสามารถขับเคลื่อนยอดได้มากกว่า Social Media ถึง +1,000% ที่สำคัญคือยอดเข้าชมนี้สามารถได้มา 'ฟรี' ในระยะยาวนานหลายเดือนหรือกระทั่งหลายปี
Video Marketing
YouTube ได้ขึ้นแท่นโวเชียลมีเดียยอดนิยมอันดับ 1 และ Search Engine ยอดนิยมอันดับ 2 ของคนไทย และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็เข้ามาหารีวิวใน YouTube ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า หาความรู้เพิ่มเติม อ่านรีวิวในคอมเมนต์ หรือบางคนก็แค่เข้ามาเพื่อความบันเทิงล้วน ๆ Video Marketing Platform ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Videos, Instagram หรือ TikTok สามารถใช้เป็นช่องทาง Video Marketing Campaign ได้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพที่สุดเมื่อควบรวมกับการทำ SEO, คอนเทนต์, หรือการตลาดอื่น ๆ บนโซเชียลมีเดีย
อุปสรรคของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง
การทำการตลาด Digital Marketing นั้นมีความท้าทายที่ไม่เหมือนการตลาดแขนงอื่น สื่อดิจิทัลนั้นหมุนเวียนเปลี่ยนผันอยู่ตลอด และ Digital Marketer ต้องคอยศึกษาธรรมชาติของสื่อแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอ ดูวิธีที่ผู้บริโภคใช้สื่อ และคิดว่าแบรนด์จะสามารถใช้สื่อเหล่านั้นในการโปรโมทสินค้าและบริการได้อย่างไร นอกจากนี้ ปัจจุบันการกุมความสนใจของผู้บริโภคเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแบรนด์ต่าง ๆ ล้วนแข่งกันยิงโฆษณาใส่ผู้บริโภคจนล้นหลามไปหมด และยังมีความท้าทายในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ Digital Marketer สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแคมเปญการตลาดต่อ ๆ ไปได้
ความท้าทายในการรวบรวมและประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เห็นว่าการเป็น Digital Marketer ต้องมีความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง แบรนด์อาจต้องปรับตัวเพื่อสอดคล้องกับพฤติกรรมในสื่อออนไลน์เหล่านั้น เช่น อาจใช้เครื่องมือ Heatmap เพื่อศึกษาการใช้งานเว็บไซต์ของผู้บริโภคเพื่อปรับ User Experience ให้ดียิ่งขึ้น
สื่อดิจิทัลนั้นหมุนเวียนเปลี่ยนผันอยู่ตลอด และ Digital Marketer ต้องคอยศึกษาธรรมชาติของสื่อแต่ละชนิดอย่างสม่ำเสมอ
คำถามที่พบบ่อย
Digital Marketing มีข้อดีอย่างไร?
การตลาดดิจิทัลเป็นวิธีหนึ่งในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่คุ้มค่าและสามารถวัดผลได้ ความภักดีต่อแบรนด์ที่เพิ่มขึ้นและการผลักดันยอดขายออนไลน์เป็นข้อดีบางประการของการตลาดดิจิทัล
ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งยากไหม?
ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งนั้นต้องใช้ทั้งทักษะหลักและคุณลักษณะทางอาชีพอีกหลายอย่าง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเชี่ยวชาญ เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ อาชีพนี้อาจมาพร้อมกับความเครียดสูง ไม่ว่าคุณจะพยายามวิเคราะห์ปัญหาเว็บไซต์ของลูกค้าหรือรับการเข้าชมแบบออร์แกนิก ความเครียดก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการเป็นนักการตลาดดิจิทัล
นักการตลาดสายนี้ทำงานที่บ้านได้ไหม?
ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของอาชีพการตลาดดิจิทัลคือความสามารถในการทำงานจากที่บ้าน บริษัทและหน่วยงานหลายแห่งเริ่มอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน เนื่องจากงานการตลาดดิจิทัลส่วนใหญ่สามารถทำได้ทางออนไลน์
Digital Marketing จัดเป็นงานที่มั่นคงไหมในปี 2023?
ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเป็นตัวเลือกอาชีพที่ดีที่สามารถนำไปสู่โอกาสในการทำเงินเป็นกอบเป็นกำ แนวทางการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อการตลาดบนอินเทอร์เน็ตเริ่มต้นขึ้น หลักการทางการตลาดหลายแขนงก็เริ่มล้าสมัย จากรายงานของ Global Data ตลาดธุรกิจออนไลน์กำลังเติบโตมากยิ่งขึ้นเนื่องจากการล็อกดาวน์ การสร้างสรรค์คอนเทนต์และความบันเทิงยังคงมีพื้นที่สำหรับการเติบโตได้อีกมาก
ถ้าได้เรียนสายนี้มาสามารถเป็นนักการตลาดดิจิทัลได้ไหม?
คุณสามารถเข้าสู่วงการดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งโดยไม่ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย กลับกัน ความรู้ที่ดีเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลเป็นตัวแปรที่สำคัญกว่าสำหรับนายจ้างบางบริษัท มันสามารถทำให้คุณมีอาชีพได้โดยไม่ต้องมีปริญญาหรือประสบการณ์การทำงานมาก่อน
Digital Marketing ทำเงินได้จริงไหม?
การตลาดดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว วิธีการทำงานแบบเดิมไม่ใช่วิธีเดียวที่สร้างรายได้ได้อีกต่อไป ตอนนี้ผู้คนทำมาหากินจากบ้านของพวกเขา คุณไม่จำเป็นต้องมีมากไปกว่าแล็ปท็อป การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่แรง และทักษะที่เกี่ยวข้อง
ต้องการตัวช่วยทำ Digital Marketing ให้แบรนด์คุณหรือเปล่า?
หากแบรนด์ของคุณต้องการผู้ช่วยที่จะพาคุณก้าวผ่านโลกดิจิทัลที่หมุนเวียนอยู่เสมอ ทีมงาน Sphere Agency ครีเอทีฟเอเจนซีในประเทศไทย พร้อมช่วยคุณวางแผนการตลาดสำหรับปีนี้และปีต่อ ๆ ไป ติดต่อเราวันนี้