การตีโจทย์เข้าใจพฤติกรรมของคนแต่ละเจนถือเป็นหนึ่งในเรื่องน่าปวดหัวที่แบรนด์และนักการตลาดต้องทำการบ้านอย่างหนักมาตลอด และยิ่งยากยิ่งขึ้นอีกในโลกดิจิทัลหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วทุกวันขนาดนี้ TCDC ได้ตีพิมพ์ คาดการณ์เทรนด์โลก เจาะลึกพฤติกรรมและความคิดของคนทุก Generation ไม่ว่าจะเป็น Baby Boomer, Gen X, Millennials, Gen Z, และกลุ่ม Alpha เพื่อช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดมากขึ้น
Baby Boomer (เกิดปี 1946-1964)
หลังจากปี 2019 Boomer ส่วนใหญ่ก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ ทำให้คนกลุ่มนี้มีเวลาหันมาเข้าสู่วงการดิจิทัลอย่างเต็มตัว สถิติจากรายงาน Future-Proofing Your Brand เผยว่า Boomer ได้กลายเป็นฐานลูกค้าหลักสำหรับสินค้าสมาร์ตโฟนและไอแพด และเป็นผู้บริโภคที่มียอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชันต่อเดือนมากที่สุด จากวิกฤตการณ์โควิด-19 พบว่าในช่วง 3 เดือนแรกของการล็อกดาวน์ มียอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชันใหม่ๆ มากถึง 1.2 พันล้านครั้งทั่วโลก ทำให้หลายแบรนด์เลือกลงทุนโฆษณาในวิดีโอของแบรนด์ที่ Boomer นิยมดาวน์โหลด ซึ่ง 82% เกี่ยวข้องกับแอพพลิเคชันเกมส์ หรือถ่ายทอด eSport ประสบการณ์บันเทิงด้านซีรีส์และภาพยนตร์ นับเป็นบริการที่เป็นที่ชื่นชอบของ Baby Boomer เช่นกัน Netflix ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้มากขึ้น จึงคัดสรรภาพยนตร์เก่าๆ มารวมไว้
Facebook คือศูนย์รวมเครือข่ายโซเชียลแห่งใหญ่ที่สุดสาหรับ Boomer โดยเฉพาะสำหรับหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผลสำรวจจาก MediaPost เผยว่า Baby Boomer คือผู้บริโภคที่เชื่อคำโฆษณาหรือการโน้มน้าวจากสื่อ Facebook มากกว่าเจนอื่น 19% สอดคล้องกับรายงานสำรวจจาก Brand Intimacy Survey ที่ระบุว่าชาวบูมเมอร์อายุราว 55-64 ปี คือลูกค้าประจำของร้านค้า Amazon Toyota และ Costco โดยได้รับการจูงใจมาจากสื่อเฟซบุ๊ก หรือได้รับรางวัลจากแคมเปญบนแอพพลิเคชัน แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าอื่นๆ ที่ใกล้เคียง หรือเป็นแบรนด์เดียวกันกับที่เคยได้ทดลองใช้
การเติบโตด้านความต้องการทางดิจิทัลของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ยังส่งผลต่อตลาดด้านอุปกรณ์เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่สวมใส่ ได้ (Wearable) ได้แก่ นาฬิกาตรวจจับการเต้นของหัวใจ นาฬิกาสำหรับออกกำลังกาย เครื่องนับก้าว เป็นต้น รายงานจาก Deloitte คาดการณ์ว่า สินค้ากลุ่มนี้จะสามารถเติบโตได้อีกในตลาดของ Baby Boomer และ Gen X ซึ่งมีโอกาสทำรายได้ใน ท้องตลาดถึง 150 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
Generation X (เกิดปี 1965-1980)
สัดส่วนการเป็นนักช้อปออนไลน์ของชาวเจนเอ็กซ์อยู่ที่ 42% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 45- 54 ปี โดยเป็นกลุ่มที่มักเลือกร้านค้าที่มีระยะทางส่งใกล้บ้าน ที่ทำงาน หรือนัดรับได้สะดวก โดยให้ความสนใจในกลุ่มสินค้าลดราคา แม้ว่าสินค้านั้นจะเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุก็ตาม ด้วยหน้าที่การดูแลครอบครัว พวกเขาคัดสรรผลิตภัณฑ์ อาหาร หรือบริการที่เห็นว่าคุ้มค่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดที่สุด
“งานอดิเรก” กลายเป็นสิ่งที่ชาวเจนเอ็กซ์ปรารถนาเป็นอันดับต้นๆ การมีอดิเรกที่ดีเท่ากับมีเวลาเป็นของตนเอง (Me Time) รายงานจาก WGSN ระบุว่าเจนเอ็กซ์จำนวน 49% มักมองหางานอดิเรกแปลกใหม่ให้ตนเอง ชาวเจนเอ็กซ์จำนวน 55% ที่มองว่าการหากิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบทำเป็นการช่วยลดความเครียดจากการงานและครอบครัว
การทำอาหารเป็นที่นิยมสำหรับชายเจนเอ็กซ์ สถิติจาก Inkling พบว่าชายชาวเจนเอ็กซ์ชื่นชอบการทำอาหารมากขึ้น 60% จากปี 2017 ซึ่งส่งผลต่อตลาดเครื่องใช้ในครัวที่เติบโตขึ้นด้วยผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยมักยินยอมจ่ายในราคาที่สูงกว่า 30% เพื่อให้ได้อุปกรณ์เครื่องครัวที่ดีที่สุด
ผู้หญิงชาวเจนเอ็กซ์ 40% มีหนึ่งในเป้าหมายการใช้ชีวิตเป็นการคงความงามที่ดูอ่อนกว่าวัย โดย 1 ใน 3 ของหญิง เจนเอ็กซ์ชาวอเมริกัน ยินดีจ่ายเงินให้กับสินค้าหรือบริการเพื่อความงามเดือนละ 50 เหรียญสหรัฐฯ และมักทดลองสินค้าสกินแคร์ใหม่ หรือสร้างกิจวัตรประจำวันใหม่ๆ ตามเคล็ดลับบน อินเทอร์เน็ตเพื่อรักษาความงามเอาไว้ ซึ่งเดินทางได้เร็วมากบนช่องทางออนไลน์และสื่อโซเชียลมี เดีย แบรนด์สกินแคร์และเครื่องดื่มโปรตีนจึงเลือกลงทุนกับผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปมากขึ้น โดยเฉพาะการโปรโมตสินค้าบนช่องทีวีอินสตาแกรม เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้ทาให้ผู้ติดตามรู้สึกว่าสินค้าเหล่านั้นถูกใช้จริงเป็นกิจวัตร มากกว่าการโปรโมตบนเฟซบุ๊กหรือยูทูบ
ภาวะ Digital Burnout หรือการเบื่อหน่ายโลกโซเชียล เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทาให้เจนเอ็กซ์หันไปหากิจกรรมนอกบ้าน ซึ่งบางกิจกรรมได้รับอิทธิพลมาจากเจเนอเรชันซีที่เป็นลูกหรือหลาน เช่นการฟังพอดแคสต์ หรือโหลดแอพพลิเคชัน Spotify มาใช้ฟังเพลง ฟังข่าว
Millennials (เกิดปี 1981-1996)
ธุรกิจประเภท Direct to Consumer (D2C) ส่วนใหญ่นั้นบุกเบิกโดย Millennials Generation แบรนด์จึงจับทางลูกค้ากลุ่มมิลเลนเนียลที่เปิดรับการขายแบบเดลิเวอรี่ และมักใช้แพลตฟอร์มอย่าง Instagram, Snapchat และ Tiktok ในการขายของและโปรโมตสินค้า เพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้มากที่สุด
73% ของมิลเลนเนียลเสพติดโซเชียลมีเดีย เมื่อใช้งานมากขึ้น พวกเขาก็ยิ่งรู้สึกเหงา จึงพยายามมองหากิจกรรมช่วงวันหยุดหรือสุดสัปดาห์เพื่อไปเที่ยว นั่งร้านกาแฟ หรือโชว์ไลฟ์สไตล์หรูหรา ซึ่งจากสถิติพบว่า ชาวมิลเลนเนียล จำนวน 77% มักจะซื้อเครื่องดื่มและโพสต์ลงโซเชียลทุกๆ สัปดาห์ ส่งผลต่อรายได้การเติบโตของร้านกาแฟ ร้านชานมไข่มุก และร้านจาหน่ายเครื่องดื่มที่กำลังเป็นที่นิยม ณ ขณะนั้น
ชาวมิลเลนเนียลเลือกลงทุนกับบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยเป็นอันดับต้นๆ ทำให้สินค้าที่ใช้งานภายในบ้านเป็นที่นิยมอย่างมาก การแต่งบ้านโดยยึดตามแนวคิดการพักผ่อนแบบ Slow-Life โดยการตกแต่งประเภทนี้ เฟอร์นิเจอร์ที่มีสีเรียบ หรือลวดลายสไตล์นอร์ดิกจะเป็นที่ต้องการมากกว่าการตกแต่งแบบหรูหรา
ชาวมิลเลนเนียลคือกลุ่มที่ยึดถือเรื่องสุขภาวะ (Wellness) มากที่สุด จนกลายเป็นผู้บริโภคที่ขับ เคลื่อนตลาดสินค้าและบริการดังกล่าว เป็นที่มาของคอร์สออกกาลังกาย อาหารคลีนที่เติบโตขึ้นรวดเร็วภายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และมีรายได้สู่ตลาดถึง 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ การมองหากิจกรรมที่สร้างความสมดุลให้ชีวิตและหน้าที่การงาน เช่น ASMR เทคโนโลยีเสียงบำบัดอารมณ์ หรือการท่องเที่ยวแบบ Slow Travel ที่ไม่พึ่งไกด์ แต่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ เหล่านี้เป็นวิธีการในการปรับสมดุลร่างกายและ จิตใจจากชีวิตการงานที่เคร่งเครียดได้
ความพยายามหลีกหนีชีวิตดิจิทัล แล้วมองหาประสบการณ์และความสัมพันธ์ในชีวิตจริง ทำให้ชาวมิลเลนเนียลกลายเป็นที่ต้องการของตลาดสัตว์เลี้ยง (Pet Economy) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า รายงานจาก Grand View Research คาดการณ์ว่าตลาดจำหน่ายสัตว์เลี้ยง รวมถึงสินค้าและการบริการเพื่อสัตว์เลี้ยงจะเติบโตขึ้นถึง 202.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2025 ซึ่งเอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการจำหน่าย สัตว์เลี้ยงมากที่สุด โดยมีร้านค้ามากมายหันมาจำหน่ายและให้บริการทางออนไลน์มากขึ้น
ชาวมิลเลนเนียลยึดถือเรื่องความเท่าเทียม หน้าที่เลี้ยงดูลูกจึงไม่ตกอยู่ที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์ของแม่จะดูแข็งแกร่ง โฉบเฉี่ยว ด้วยแฟชั่นเสื้อผ้าที่สามารถแมทช์เข้ากันกับลูก ซึ่งเสื้อผ้าแฟชั่นชุดคู่นั้นได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ทำให้เกิดการตลาดที่เรียกว่า One size fits all ซึ่งเป็นเซ็ตเสื้อผ้าคู่สำหรับแม่ลูก ทั้งในแบรนด์สินค้าแบบลักซ์ชัวรี และตลาดเฉพาะกลุ่ม
Gen Z (เกิดปี 1997-2012)
Gen Z เผชิญกับภาวะวิกฤตของสภาพแวดล้อมมาตลอดช่วงอายุ เจนนี้จึงมีความคาดหวังว่าธุรกิจและรัฐบาลจะมีแผนและแนวทางปฏิบัติที่มุ่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Gen Z มีแนวโน้มของอาการวิตกกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พวกเขาจึงมีความต้องการให้ธุรกิจหรือแบรนด์ไม่ใช่แค่เพียง พูดเรื่องความยั่งยืนเท่านั้น แต่ต้องแสดงหลักฐานที่ชัดเจนในการให้คำมั่นสัญญาและการสนับสนุน เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงอีกด้วย และ Gen Z เป็นเจเนอเรชันที่เต็มไปด้วยความกังวลใจของความไม่แน่นอน จากผลสำรวจ Prosper Insights and Analytics เมื่อเดือนเมษายน 2020 พบว่า 32.7% ของ Gen Z สัมผัสกับความรู้สึกเป็นกังวลจากการถูกจำกัดอยู่ในบ้านในช่วงวิกฤตโควิด-19 มากกว่าเจเนอเรชันอื่นๆ ที่มีความกังวลเฉลี่ยเพียง 22% เท่านั้นโดยกลุ่ม Gen Z หลายคนมักตั้งประเด็น และคิดว่าพวกเขาจะทำอย่างไรถ้าหากทุกอย่างล่มสลายลง
ท่ามกลางข้อจากัดต่างๆ Gen Z สามารถมองหาทางออกด้วยการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ยกตัวอย่าง เช่นการสร้างแพลตฟอร์ม Intern from Home ของนักศึกษามหาวิทยาลัยบราวน์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อนักศึกษาที่ฝึกงานในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา หรือเว็บไซต์แบบคราวด์ซอร์สซิง Is My Internship Cancelled ที่เชิญชวนให้นักศึกษามาอัพเดตข้อมูลแผนการจัดจ้างงานในบริษัทต่างๆ เพื่อส่งเสริมโอกาสในการฝึกงานหรือหาตำแหน่งงานในอนาคต
Nostalgia Effect หรือการย้อนอดีตในวันวาน ทำให้ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะส่วนอุตสาหกรรมบันเทิงและสื่อ เลือกนำแนวคิดการย้อนอดีตนี้มาเป็นธีมสำหรับกลุ่ม Gen Z ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ซีรีส์ หรือสินค้าแบบแอนาล็อก เช่นแผ่นเสียง เทป คาสเซ็ตต์ หรือกล้องฟิล์ม ที่ถูกนำกลับมาผลิตใหม่ สำหรับชาวเจนซี การได้รู้สึกเสมือนได้ย้อนวันเวลานั้น เป็นหนึ่งในวิธีการหลีกหนีจากความเป็นจริงในปัจจุบัน
Alpha (เกิดปี 2010-ปัจจุบัน)
กลุ่ม Alpha เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ต่างจากเจเนอเรชันก่อนอย่างมาก จึงเป็นกุญแจสำคัญให้ ธุรกิจต้องเรียนรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมเรื่องเพศ การ แสดงอารมณ์ ไปจนถึงเทคโนโลยีและความบันเทิงในชีวิตจริง 86% ของ Alpha สนุกกับการออกแบบ การคิดริเริม และการลงมือสร้างสิ่งต่างๆ โดย 58% เชื่อเรื่องความหลากหลายทางเพศ ซึ่งอาจเป็นเพราะการเติบโตมาใน ช่วงที่โลกให้ความสาคัญกับคนทุกกลุ่มมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังจึงต้องมีความลื่นไหลและแสดงออกถึงตัวตนที่ชัดเจน
ห้างค้าปลีกในอนาคตสำหรับเจนอัลฟ่า ต้องเพิ่มสัดส่วนและผนวกประสบการณ์ด้านการเรียนรู้เข้าไป เพราะเป็นเหตุผลที่พ่อแม่จะเลือกเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับเด็กๆ ตามรายงานศึกษาของ Mintel ระบุว่า มากกว่า 3% ใน 2,000 ครอบครัว เลือกใช้การช้อปปิ้งเป็นช่วงเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับเด็กๆ ดังนั้น พื้นที่ที่กระตุ้นให้พ่อแม่และลูกสามารถเล่นและมีปฏิสัมพันธ์กับเจเนอเรชันอื่นๆ ได้ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ ประสบการณ์ ตลอดจนความทรงจำของทั้งครอบครัว
การเติบโตมาในยุคของความวิตกกังวลและเห็น ภาวะหมดไฟของพ่อแม่ ทำให้เจนอัลฟ่าเรียนรู้ที่ จะจัดการอารมณ์และลดความเครียดของตนเองได้ตั้งแต่ยังเด็ก อีกทั้งยังสร้างบทบาทของตัวเองในหลากหลายรูปแบบที่เชื่อมต่อกัน (MultiHyphenate) ซึ่งอาจมีผลต่ออาชีพของพวกเขาในอนาคต พ่อแม่ชาวมิลเลนเนียลนั้นมีลูกช้าและจำนวนน้อยกว่าถ้าเทียบกับเจเนอเรชันก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมีการคาดการณ์ว่าพ่อแม่กลุ่มนี้มีเวลาและเงินมากกว่าที่จะใช้จ่ายสำหรับลูกหลาน ดังนั้นเจนอัลฟ่าจึงมักเติบโตมาท่ามกลางการมีมาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้น
คำถามที่พบบ่อย
Generation จำแนกอย่างไร?
กลุ่มคนแต่ละเจนถูกจำแนกโดยปีเกิด ไม่ใช่อายุ เพราะแต่ละเจนจะมีอายุโตขึ้นพร้อมกันทั้งกลุ่ม
คนเจนไหนมีฐานะมากที่สุด?
Baby Boomer เป็นรุ่นที่มีอำนาจและมั่งคั่งที่สุดในอเมริกา แต่บูมเมอร์หลายล้านคนทยอยออกจากงานทุกปี และแม้แต่บูมเมอร์ที่อายุน้อยที่สุดก็ใกล้จะเกษียณแล้ว
คนเจนไหนมีการศึกษาสูงที่สุด?
แม้จะเป็นคนรุ่นที่มีการศึกษามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา แต่ Millenials กำลังทบทวนคุณค่าของปริญญาสี่ปีแบบดั้งเดิมอันเนื่องมาจากหนี้สินของกองทุนกู้ยืมทางการศึกษาและรูปแบบการศึกษาใหม่ๆ
คนเจนไหนมีจำนวนมากที่สุด?
ประชากรประมาณ 72.1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกามีอายุต่ำกว่า 30 ปี ทำให้ Millenials เป็นกลุ่มรุ่นที่ใหญ่ที่สุดในปี 2019 เมื่อเร็ว ๆ นี้ Millenials แซงหน้า Baby Boomers เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด และพวกเขาจะยังคงเป็นส่วนสำคัญของพลเมืองโลกอีกนานหลายปี
คนเจนไหนรู้สึกโดดเดี่ยวมากที่สุด?
จากการสำรวจผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา คนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นรุ่นที่โดดเดี่ยวที่สุด การสำรวจพบว่า 30% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลกล่าวว่าพวกเขารู้สึกเหงาอยู่เสมอหรือบ่อยครั้ง เมื่อเทียบกับกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ 20% และเบบี้บูมเมอร์เพียง 15%
Gen Z ซึมเศร้ากันมากแค่ไหน?
จากการสำรวจพบว่าผู้ใหญ่ Gen Z มากกว่า 9 ใน 10 คนมีอาการทางร่างกายหรือทางอารมณ์อย่างน้อยหนึ่งครั้งเนื่องจากความเครียด เช่น รู้สึกหดหู่หรือเศร้าหรือขาดความสนใจ แรงจูงใจหรือพลังงาน มีเพียงครึ่งหนึ่งของ Gen Z เท่านั้นที่รู้สึกว่าสามารถจัดการความเครียดได้
ต้องการตัวช่วยตีโจทย์การตลาดต่อคนแต่ละเจนหรือไม่?
หากแบรนด์ของคุณกำลังหาตัวช่วยทำ Digital Marketing สำหรับปี 2021 ทีมงานดิจิทัลเอเจนซีที่ Sphere Agency พร้อมพูดคุยกับคุณเพื่อวางแผนการตลาดสำหรับอนาคตข้างหน้า เข้ามาดู บริการของเรา และติดต่อมาเลย