Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ

Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ

Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ

Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ

Sphere Agency Hero Image

Canvas แปลว่า ผ้าใบ ผ้าชนิดหนึ่งที่มีความหนา ทนทาน มักเป็นที่นิยมในการนำมาเขียนภาพวาดสีน้ำมันของเหล่าจิตรกรต่าง ๆ ทั่วโลก โดยถ้าเอ่ยถึงภาพที่ใช้เทคนิคนี้กับผ้าใบทุกคนก็คงจะร้อง อ๋อ กันทุกคนแน่นอน อย่างภาพ Starry Night ของ Vincent van Gogh ก็ใช้เทคนิคการวาดภาพสีน้ำมันลงบนผ้าใบ


Business Model Canvas จึงเปรียบเสมือนผ้าใบของเหล่านักธุรกิจในการออกมาวาดลวดลาย แสดงความสามารถผ่านการทำโมเดลธุรกิจบนผืนผ้าใบนี้ให้ภาพวาดหรือก็คือธุรกิจของเราออกมาสวยงามและประสบความสำเร็จนั่นเอง






Business Model Canvas คืออะไร?


Business Model Canvas หรือ BMC คือ แผนผังโมเดลธุรกิจ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายองค์ประกอบต่าง ๆ ของธุรกิจและทำให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจในหนึ่งหน้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายและตรงกันของทั้งองค์กร สามารถมองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง และปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ได้รวดเร็ว

Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ






ภาพด้านบนคือแผนผังของ Business Model Canvas โดยส่วนใหญ่มักจะพิมพ์ออกมาเป็นภาพขนาดใหญ่และมีการประชุม ระดมความคิดเพื่อใส่ไปในแต่ละหัวข้อด้วยการเขียนบน Post-it และนำไปแปะในแต่ละช่อง เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไข เนื่องจากต้องมีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลา เมื่อเสร็จแล้วก็จะนำไปวางไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่าย เพื่อให้ทุกคนสามารถมาทำความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร โดยแบ่งออกเป็น 9 ส่วน


  1. Customer Segments ลูกค้าของเราเป็นคนแบบไหน มีปัญหาอะไร พฤติกรรมของลูกค้า การรับสื่อ ซึ่งเราสามารถแยกออกเป็นทั้งคนที่ซื้อสินค้า และ คนที่ใช้สินค้า เพื่อให้เรารู้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะทำธุรกิจด้วย

  1. Channels ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ทั้งการสื่อสาร และการขายสินค้า หลังจากเรารู้จัก Customer Segment ของเรามาประมาณหนึ่งแล้วเราก็ควรที่จะทำความเข้าใจเรื่องช่องทางต่าง ๆ ที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ง่ายต่อการที่ลูกค้าจะเข้าถึงเรา และเราเข้าถึงลูกค้า

  1. Customer Relationships การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นเรื่องที่ลืมไม่ได้ในการทำธุรกิจ เพราะการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิด ความจงรักภักดีต่อแบรนด์ และเมื่อลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ก็จะมีการซื้อซ้ำ บอกต่อ ปกป้องแบรนด์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อแบรนด์

  1. Value Propositions คุณค่าของธุรกิจเรา อะไรคือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเลือกที่จะซื้อสินค้าหรือใช้บริการกับแบรนด์ของเรา เป็นสิ่งที่จะทำให้เรารู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตัวเอง และสามารถนำมันไปใช้ต่อยอดกับการทำธุรกิจของเรา

  1. Key Activities สิ่งที่ต้องทำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจนี้ หรือหน้าที่ของเราในการทำให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้

  1. Key Partners พาร์ทเนอร์หลักของเรา เนื่องจากการที่เราไม่สามารถทำทุก ๆ เองได้เนื่องจากความจำกัดทางทรัพยากร ทำให้เราต้องมีการพึ่งพาบุคคลอื่น ๆ ที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถดำเนินการต่อไปได้ และยังช่วยประหยัดเวลาให้กับเราอีกด้วย

  1. Key Resources ทรัพยากรที่จำเป็นของบริษัท โดยเราต้องทำการเขียนแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ทรัพยากรส่วนที่ธุรกิจของเรามีอยู่แล้ว และทรัพยากรที่เราควรจะต้องมีเพิ่ม โดยเราต้องทำการวิเคราะห์จากกลุ่มเป้าหมายและคุณค่าของเรา ว่าทรัพยากรที่เรามีอยู่สามารถตอบสนองคุณค่านั้นได้หรือไม่

  1. Cost Structure ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าที่ เครื่องจักร เงินทุน เป็นต้น และค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ เช่น งบการทำการตลาด การประชาสัมพันธ์ การทำโฆษณา เป็นต้น

  1. Revenue Streams รายได้ของเรามีอะไรบ้าง มาจากกลุ่มลูกค้าแบบไหนบ้าง และมาจากสินค้าและบริการแบบไหน เพื่อวิเคราะห์สินค้าและบริการที่สามารถทำกำไรได้เยอะ และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่ให้ความกับใจกับธุรกิจของเรา


โดยเราสามารถจัดออกมาเป็นกลุ่มในขั้นตอนการทำได้ดังนี้

Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ






1. กลุ่มลูกค้า 


Customer Segments + Customer Relationships + Channels


กลุ่มแรกที่เราควรที่จะต้องหาให้เจอคือกลุ่มของลูกค้า เป็นกลุ่มที่จะบอกว่าใครคือลูกค้าของเรา มีความต้องการหรือปัญหาอะไร และกลุ่มที่จะเป็นลูกค้าของเรามีช่องทางอย่างไรบ้างและเราควรทำอย่างไรเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเหล่านั้นไว้ให้ได้



2. กลุ่มการนำเสนอ


Value Propositions


กลุ่มที่สองที่เราควรหาถัดมาก็คือ คุณค่าในตัวสินค้าหรือบริการของเราที่ลูกค้าเลือกที่จะซื้อหรือใช้บริการเรา เพื่อนำไปใช้ทำการสื่อสารต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด



3. กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน


Key Partners + Key Activities + Key Resource


กลุ่มต่อมาคือกลุ่มหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากเราจะได้ประเมินทรัพยากรที่เรามี หาพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาช่วยเราดำเนินธุรกิจ และกำหนดหน้าที่ให้กับธุรกิจของเรา



4. กลุ่มรายรับ รายจ่าย


Cost Structure + Revenue Streams


หลังจากที่หาทุกอย่างครบแล้วก็จำเป็นที่จะต้องกลับมามองเรื่องตัวเลข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนต่าง ๆ ที่เราต้องจ่าย และรายได้ของเราว่ามีที่มาจากไหน และปริมาณเท่าไหร่

Business Model Canvas ออกแบบสรรค์สร้างผลงานเอกแห่งโลกธุรกิจ






3 เคล็ดลับในการวาด Business Model Canvas ให้ออกมาสวยงาม



1. ให้ความสำคัญกับเรื่องความเชื่อมโยงของลูกค้าและคุณค่า


ทั้ง 2 หัวข้อมักเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกัน เป็นตัวแปรที่จะทำให้ส่วนอื่น ๆ ขับเคลื่อนได้ถูกต้องและไปในทิศทางเดียวกัน เราจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในการทำทั้ง 2 หัวข้อนี้


  • ในหัวข้อลูกค้า เราสามารถลองทำด้วย Persona ว่าภาพของคนที่จะซื้อสินค้าและบริการของเราจะเป็นคนแบบไหน แต่งตัวอย่างไร หรืออื่น ๆ ช่วยให้เราเข้าใจในตัวลูกค้าของเราได้มากยิ่งขึ้น ทำออกมาซัก 4-5 คน เท่านี้เราก็จะรู้แล้วว่ากลุ่มคนที่จะเป็นลูกค้าเรามีแบบไหนบ้าง และนำมาทำการจัด Segment อีกที 

  • และในหัวข้อของคุณค่า ที่ถูกวางอยู่ที่ตรงกลางของผืนผ้าใบนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงต่อทุกส่วน อันดับแรกเลยคือ ปัญหาของลูกค้ามีอะไรบ้างที่สำคัญ และควรได้รับการแก้ไข ถ้าธุรกิจคุณเป็นแบบ B2B หรือ ธุรกิจของทำอะไรให้เขาบ้าง และต้องมีการปรับปรุงเรื่องใดบ้าง อย่างไร แต่ถ้าธุรกิจของคุณเป็นแบบ B2C ให้หาว่าธุรกิจของคุณกำลังตอบสนองความต้องการอะไรของเขาบ้าง อันดับที่สอง ในตอนนี้ลูกค้ามีตัวเลือกอะไรบ้าง เพื่อเปรียบเทียบคุณค่าของตัวคุณกับคู่แข่งของคุณ และทำให้คุณค้าของคุณดีกว่าตัวเลือกเหล่านั้นเพื่อจูงใจคนให้มาใช้สินค้าและบริการของคุณ


เมื่อเราทำทั้งสองส่วนเสร็จแล้ว ให้เรานำมาจัดเรียงตามความน่าสนใจจากมากไปน้อยและนำไปแปะบน Business Model Canvas เอาไว้



2. ศึกษา Customer Journey เพื่อวางแผนการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้าและช่องทางต่าง ๆ


ใน 2 ส่วนนี้มักจะเป็นส่วนที่ถูกละเลยและใช้เวลาในการทำน้อยที่สุด การให้เวลากับ 2 ส่วนนี้จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์และสร้าง Customer Journey ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการคิด Customer Journey นั้นจะมีหลากหลายวิธี แต่หนึ่งในนั้นก็คือ AIDA (Attention, Interest, Desire, Action) และเพิ่มไปอีก 2 ขั้นตอนคือ Onboarding การเตรียมความพร้อม และ Retention การรักษาลูกค้า รวมเป็น AIDAOR เราจะใช้ตัวอย่างเป็น แบบทดสอบออนไลน์ที่ แบม HR ของบริษัทหนึ่งเลือกใช้ในการทดสอบผู้สมัครงานเพื่อคัดกรองผู้ที่มีความสามารถอย่างรวดเร็ว


Attention - แบมเห็นโฆษณาเกี่ยวกับโปรแกรมสร้างแบบทดสอบออนไลน์และทำความเข้าใจเรื่องการนำมาประยุกต์ใช้กับการคัดเลือกคน


Interest - แบมก็หาข้อมูลเพิ่มที่เว็บไซต์ พบว่ามันน่าสนใจและเกี่ยวข้องกันกับสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่


Desire - แบมจึงอยากที่จะนำโปรแกรมนี้มาใช้ในการค้นหาผู้สมัครที่มีความสามารถ


Action - แบมจึงไปนำเสนอโปรแกรมนี้ต่อหัวหน้าว่ามันดีอย่างไร


Onboarding - นำโปรแกรมมาใช้งาน


Retention - แบมเลือกที่จะใช้งานโปรแกรมนี้เป็นประจำ และจะนำไปประยุกต์กับอย่างอื่นเพิ่มอีกด้วย


หลังจากที่เราเขียน AIDAOR เสร็จแล้วนั้นให้เรานำมาแปะลงในทั้ง 2 ส่วน บนผังของเรา และตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้อง ว่าสามารถนำไปใช้งานจริงได้หรือไม่



3. กำหนดประเภทธุรกิจของคุณก่อนที่จะเริ่มทำกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน


บริษัทที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นไปที่การดำเนินงานกับธุรกิจประเภทเดียว โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยขอบเขต และธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยสินค้า


  • ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยโครงสร้างพื้นฐาน

วิเคราะห์จากการที่เราทรัพย์สินขนาดใหญ่หรือระบบ ที่ขายให้กับกลุ่มคนต่าง ๆ ให้ได้หลายกลุ่มที่สุด เช่น กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มโทรคมนาคม กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์


  • ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยขอบเขต

ธุรกิจประเภทนี้จะใช้กลยุทธ์ Economy of Scope ในการดำเนินธุรกิจ หรือก็คือเน้นไปที่การทำสินค้าหลากหลายที่สำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดต้นทุนต่าง ๆ ทั้งการผลิต การทำการตลาด หรือแม้แต่ช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น กลุ่มร้านขายปลีก กลุ่มธนาคาร บริษัทกฎหมาย


  • ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยสินค้า

ธุรกิจประเภทนี้จะสร้างสินค้าที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง โดยจะเป็นสินค้าที่เชื่อมโยงกับลูกค้าหลาย ๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มแอปพลิเคชัน กลุ่มสื่อ


หลังจากที่กำหนดประเภทของธุรกิจได้แล้ว นำไปวิเคราะห์ในการออกแบบกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน โดยพิจารณาว่าหน้าที่ของเรามีความเป็นเอกลักษณ์หรือไม่ สำคัญต่อธุรกิจนี้หรือไม่ และทรัพยากรที่เรามีหรือพาร์ทเนอร์ต้องหาเพิ่มหรือไม่ เพื่อนำไปแปะบน Business Model Canvas ของเรา






คำถามที่พบบ่อย



ทำไมต้องใช้ Business Model Canvas?


คุณสามารถใช้ Business Model Canvas เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบธุรกิจได้อย่างเห็นโครงสร้าง ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้าที่คุณให้บริการ Value Proposition ที่นำเสนอผ่านช่องทางใด และวิธีที่บริษัทของคุณสร้างรายได้จากการใช้เครื่องมือนี้



Business Plan กับ Business Model Canvas แตกต่างกันอย่างไร?


Business plan เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจสามารถทำกำไรได้อย่างไร เป้าหมายหลักของแผนธุรกิจคือการได้รับการลงทุน ในขณะที่รูปแบบธุรกิจถูกสร้างขึ้นเพื่อทดสอบ



Business Model Canvas ทำงานอย่างไร?


Business Model Canvas สามารถใช้เพื่อกำหนดและสื่อสารแนวคิดหรือแนวคิดทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เอกสารหน้าเดียวใช้เพื่อทำงานผ่านองค์ประกอบพื้นฐานของธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ โดยจัดโครงสร้างในลักษณะที่สอดคล้องกัน



Business Model Canvas มีข้อเสียอย่างไร?


จุดเน้นของ Business Model Canvas คือการสร้างมูลค่าด้วยรายได้เมื่อได้รับผลตอบแทน ดังนั้น การกีดกันแรงภายนอกจากรูปแบบธุรกิจ เช่น การแข่งขันและปัจจัยด้านตลาด จึงเป็นข้อจำกัดหลักประการหนึ่ง



Lean Canvas กับ Business Canvas ต่างกันอย่างไร?


Lean Canvas นั้นเรียบง่ายกว่า Business Model Canvas มาก โดยที่ Canvas พยายามสร้างโมเดลธุรกิจที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถใช้สำหรับการทดสอบและค้นหาในขณะที่ Lean Canvas จะเน้นไปที่การสรุปข้อมูลเพียงหน้าเดียวด้วยโมเดลธุรกิจที่ "เรียบง่าย"



ส่วนไหนของ Business Model Canvas ที่สำคัญที่สุด?


กลุ่มลูกค้าอาจเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของ Canvas ของคุณ หากไม่รู้ว่าลูกค้าของคุณเป็นใคร คุณจะไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการได้ สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าใครเป็นลูกค้าและทำไมพวกเขาถึงซื้อจากคุณ






มองหาตัวช่วยในการวางแผนธุรกิจอยู่หรือเปล่า?


หากแบรนด์ของคุณต้องการความช่วยเหลือ ทีมงานของ Sphere Agency พร้อมช่วยคุณวาด Business Model Canvas เพื่อให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ และพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา อ่านรายละเอียดบริการทำแบรนด์ดิ้ง ของเรา และติดต่อมาเลย!

Written By

Sphere Agency team

May 18, 2021

Written By

Sphere Agency team

May 18, 2021

Written By

Sphere Agency team

May 29, 2023

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อสำหรับแบรนด์ ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย

บริษัทโฆษณา และสตูดิโอผลิตสื่อ สำหรับแบรนด์ที่มุ่งสู่อนาคต

©

2024

 Sphere Agency a Spektra Company. All Rights Reserved. Privacy Policy.

English

|

ไทย