รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

A person holding a phone displaying a credit card in the era of the New Normal.A person holding a phone displaying a credit card in the era of the New Normal.

เศรษฐกิจทั่วโลกกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหลังเกิดภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส ธุรกิจในประเทศไทยทั้งน้อยใหญ่ล้วนสูญเสียรายได้และฐานลูกค้า โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและค้าปลีก ย้อนกลับไปสมัยที่เราทุกคนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน eCommerce (อีคอมเมิร์ซ) และSocial Shopping Platform ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Facebook Shopping, JD Central และ Alibaba กลายเป็นช่องทางกระแสหลักที่ผู้บริโภคชาวไทยใช้จับจ่ายสินค้าในชีวิตประจำวัน ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมส่วนมากก็เริ่มประยุกต์ใช้อีคอมเมิร์ซเพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ นี่คือ 3 เทรนด์อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่ควรรู้หลังวิกฤติโรคระบาด พร้อมรับชีวิตวิถีใหม่ New Normal ในปี 2021 และอนาคตต่อ ๆ ไป

พฤติกรรมการช้อปสินค้าออนไลน์เปลี่ยนไป

ช่วงก่อนผู้บริโภคมียอดการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่พุ่งสูงขึ้นเนื่องจากนโยบายล็อกดาวน์ที่รัฐบาลทั่วโลกนำมาใช้ช่วงภาวะวิกฤติ ตัวเลขที่มีผลต่อวงการอีคอมเมิร์ซก็สูงขึ้นในระดับโลกเช่นกัน

จากการรายงานของ Hootsuite เมื่อเดือนเมษายน 2020 กว่า 74% ของผู้ใช้อายุ 16-64 ปีระบุว่าเคยซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 9 ในการจัดอันดับประเทศที่มีส่วนแบ่งอีคอมเมิร์ซเทียบกับการซื้อขายโดยรวมมากที่สุด โดยมีส่วนแบ่งถึง 10% ในช่วงภาวะวิกฤติ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างโดยเฉลี่ย 47% ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อซื้อสินค้ามากกว่าที่เคย

ในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาดในประเทศไทย ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยอย่าง Lazada ระบุว่ายอดขายช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายนพุ่งสูงขึ้นถึง 100% (Bangkok Post) ผู้บริโภคใช้เวลาในการใช้งานเว็บไซต์ออนไลน์ช้อปปิ้งมากกว่าก่อนล็อกดาวน์ถึง 11% ต่อการเข้าหนึ่งครั้ง Lazada ประเทศไทยคาดการณ์ว่าอีคอมเมิร์ซจะกลายเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคในชีวิตวิถีใหม่ต่อไป

พูดง่าย ๆ คือเราจะช้อปออนไลน์กันเป็นปกติแม้หลังคลายล็อกดาวน์

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

ประเภทสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ก่อนภาวะโรคระบาดจะทวีความรุนแรง ประเภทสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดผ่านช่องทางออนไลน์คือท่องเที่ยวและที่พัก ด้วยยอดการซื้อขายกว่าเกือบสองแสนล้านบาทในปี 2019 และสินค้าที่เติบโตเร็วที่สุดคืออาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคที่ +22%

นโยบายการปิดประเทศและปิดน่านฟ้าทั่วโลกส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวมียอดการซื้อขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซที่ลดลงถึง -92% ในขณะที่เครื่องใช้ภายในบ้านและอุปกรณ์ DIY กลับได้อานิสงส์กว่า +120% ในช่วงที่ผู้บริโภคชาวไทยล้วนห่วงสุขภาพของตนเองเป็นอันดับ 1 ยอดความต้องการเจลล้างมือทางช่องทางออนไลน์พุ่งสูงถึง +8000% เนื่องจากมีการกักตุนสินค้าประเภทนี้ขึ้น

Hootsuite รายงานตัวเลขความสนใจต่อผลิตภัณฑ์อาหารและของชำ เครื่องใช้ภายในบ้าน และผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคอื่น ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่สูงขึ้นทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ยอดเข้าใช้งานเว็บไซต์ซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงล็อกดาวน์ทวีคูณขึ้นเท่าตัวเทียบกับ 6 สัปดาห์แรกของปี 2020

เป็นที่น่าจับตามองว่าเทรนด์การซื้อขายสินค้าออนไลน์จะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังภาวะวิกฤติในวันที่ธุรกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติ

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

เข้าสู่สังคมไร้เงินสด

ผู้บริโภคชาวไทยเริ่มใช้ชีวิตไร้เงินสดสำหรับการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ มียอดการซื้อสินค้าออนไลน์เพียง 12% เท่านั้นที่จ่ายด้วยเงินสด ในขณะที่รูปแบบการจ่ายเงินแบบ Point-of-sale (POS) หรือเรียกอีกอย่างว่า QR Code Payment มีการคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 23% ในปี 2021 อ้างอิงจากสถิติของ Statista

ปัจจัยนี้อาจส่งผลต่อทั้งธุรกิจออนไลน์และร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม นักการตลาดควรอำนวยความสะดวกผู้บริโภคโดยการทำให้การจ่ายเงินรูปแบบดิจิทัลง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน

รู้ก่อนใคร 3 เทรนด์ 'อีคอมเมิร์ซ’ เมืองไทยในชีวิต New Normal

อนาคตของอีคอมเมิร์ซในเมืองไทยจะเป็นอย่างไร?

จากที่ยักษ์ใหญ่ของวงการอีคอมเมิร์ซในไทยอย่าง Lazada ได้คาดการณ์ไว้ ออนไลน์ช้อปปิ้งจะมีอิทธิพลกว่าที่เป็นอยู่ เราจะซื้อของออนไลน์ไม่ใช้เพราะต้องหาบางอย่างที่มีขายผ่านทางออนไลน์เท่านั้น แต่เราจะซื้อของออนไลน์เพราะเราซื้อง่ายได้ด้วยปลายนิ้ว นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และช่วยอำนวยความสะดวกผู้ใช้ที่กำลังเริ่มใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดในชีวิตประจำวัน ชีวิตวิถีใหม่นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโลกใบใหม่ที่เราทุกคนต้องอยู่ต่อไป และอนาคตก็เอาแน่เอานอนไม่ได้เสียทีเดียว เตรียมตัวเองให้พร้อมไว้เสมอ

คำถามที่พบบ่อย

อีคอมเมิร์ซคืออะไรกันแน่?

อีคอมเมิร์ซคือการซื้อและขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการโอนเงินและข้อมูลเพื่อทำธุรกรรมให้เสร็จสิ้น เรียกอีกอย่างว่าการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์หรือการค้าทางอินเทอร์เน็ต

อีคอมเมิร์ซมีกี่ประเภท?

อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ธุรกิจกับธุรกิจ (เช่น Shopify) ธุรกิจกับผู้บริโภค (เช่น Amazon) และผู้บริโภคกับผู้บริโภค (เช่น eBay)

บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 Amazon ได้กลายเป็นชื่อที่คุ้นเคยเมื่อพูดถึงการช็อปปิ้งออนไลน์ ปัจจุบันบริษัทมีรายได้มากที่สุดในโลก

ทำไมอีคอมเมิร์ซถึงประสบความสำเร็จ?

ลูกค้าจะได้รับข้อมูลอัปเดตแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ข้อเสนอสุดพิเศษและแผนการส่งเสริมการขาย รวมถึงตัวเลือกการซื้อแบบกดครั้งเดียว ซึ่งทำให้การค้าออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างมาก เป็นไปได้ที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับธุรกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นด้วยข้อเสนอเฉพาะสถานที่ตั้งของอุปกรณ์เคลื่อนที่

อนาคตของอีคอมเมิร์ซคืออะไร?

อีคอมเมิร์ซจะเฟื่องฟูต่อไปทั่วโลก โดยคาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2566 ภายในปี 2564 มีการคาดการณ์ว่าผู้ซื้อประมาณ 2.1 พันล้านคนจะซื้อสินค้าและบริการทางออนไลน์ และที่น่าสนใจคือ นักช็อปออนไลน์จำนวนมากอาศัยอยู่นอกสหรัฐอเมริกา

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซทำเงินได้อย่างไร?

อีกวิธีหนึ่งที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสร้างรายได้ที่สำคัญต่อการเติบโตในระยะยาวของพวกเขาคือผ่านโฆษณาที่ตรงเป้าหมายซึ่งมุ่งสู่ลูกค้าและช่องที่ทำกำไรได้ตั้งแต่เริ่มต้น การใช้โฆษณาเฉพาะผลิตภัณฑ์ช่วยให้บริษัทอีคอมเมิร์ซเติบโต โฆษณารีมาร์เก็ตติ้งยังทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดโมเมนตัมการเติบโตอีกด้วย

ต้องการตัวช่วยออกแบบกลยุทธ์อีคอมเมิร์ซงั้นหรือ?

หากแบรนด์ของคุณต้องการตัวช่วยทางการตลาดเพื่อรักษาสเถียรภาพทางธุรกิจในตลาดอีคอมเมิร์ซที่มรการแข่งขันสูงขึ้นทุกวัน ทีม Sphere Agency พร้อมช่วยคุณออกแบบเว็บไซต์ออนไลน์ช้อปปิ้งที่ดีที่สุดสำหรับคุณ พร้อมบริการอื่น ๆ อีกหลากหลาย ติดต่อเราเลย

แชร์บทความนี้: 
โดย Yaya Adam วันที่ เมษายน 5, 2022

เกี่ยวกับเรา

Sphere Agency คือดิจิทัลเอเจนซี่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ช่วยให้แบรนด์สานความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น สร้างคุณค่าและความประทับใจกับกลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันอย่างไม่หยุดนิ่ง เราให้บริการครบวงจรโดยแตกยอดจากอินไซต์ เพื่อหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ของคุณในโลกที่พร้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.

All our secret for free!

Joining this list will be your best decision ever. We send monthly emails with insights, stats, case-studies and hacks for getting more traffic and conversions.
Newsletter Subscription
X