วิธีสร้าง Buyer Persona ตัวแทนลูกค้าเพื่อการวางแผน Marketing

การวางแผน Marketingeby creating Buyer Personasการวางแผน Marketingeby creating Buyer Personas

หนึ่งในพื้นฐานของการตลาดคือการเข้าใจในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่แบรนด์ต้องการเข้าถึง การสร้าง Buyer Personas (หรือ Customer Persona, Audience Persona, Marketing Persona) ช่วยในการมุ่งเป้าเพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการซื้อสินค้าและบริการที่มีให้ Persona ที่ออกแบบอย่างดีจะช่วยให้การสื่อสารการตลาดของแบรนด์สะท้อนตัวตนและเป้าหมายของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

บทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีการสร้าง Buyer Personas สำหรับแคมเปญการตลาดต่อไปของแบรนด์คุณกัน

วิธีสร้าง Buyer Persona ตัวแทนลูกค้าเพื่อการวางแผน Marketing

Buyer Persona คืออะไร

Buyer Persona คือตัวละครสมมติที่จะมาเป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์ เป็นตัวละครที่สร้างขึ้นโดยรวบรวมลักษณะของลูกค้าในอุดมคติโดยอิงพื้นฐานจากข้อมูลวิจัยทางการตลาด ช่วยในการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด โฟกัสทรัพยากรไปกับกลุ่มลูกค้าที่มี Potential มากที่สุด และทำให้ทุกคนในองค์กรเห็นภาพตรงกันและไม่ตกหล่นในการสื่อสาร

จุดประสงค์ของ Buyer Personas คือการเป็นหุ่นให้ทีมนึกภาพและพูดคุยเหมือนเป็นลูกค้าจริง ๆ คนหนึ่ง คนคนนี้มีชื่อเป็นของตนเอง มีรายละเอียดต่าง ๆ ในชีวิตเหมือนกันมนุษย์จริง ๆ รวมไปถึงลักษณะนิสัยต่าง ๆ ด้วย

Buyer Personas ที่ผ่านการวางแผนอย่างรอบคอบจะช่วยให้คุณเข้าใจเป้าหมาย Pain Point และลักษณะการใช้จ่ายของลูกค้า และส่งผลให้สามารถออกแบบ Marketing Message ที่เฉพาะต่อคนกลุ่มนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นคู่มือสำหรับแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาสินค้า Brand Voice ไปจนถึงการเลือกช่องทางในการสื่อสาร

แน่นอนว่าลูกค้าแต่ละคนมีกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นอาจต้องมี Buyer Persona มากกว่า 1 คนเพื่อครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น

วิธีสร้าง Buyer Persona ตัวแทนลูกค้าเพื่อการวางแผน Marketing

วิธีสร้าง Buyer Persona

ทำการวิจัยผู้บริโภค

ขั้นแรกของการสร้าง Persona คือการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย จากนั้นจึงใช้ข้อมูลที่ได้เป็นฐานในการกำหนดว่าอยากให้ใครมาซื้อสินค้าของแบรนด์ต่อไป

ข้อมูลวิจัยควรครอบคลุมปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้:

  • อายุ
  • สถานที่พักอาศัย
  • ภาษาที่ใช้
  • ความสนใจ
  • ความสามารถในการใช้จ่าย
  • พฤติกรรมการบริโภค
  • Pain points
  • วิถีชีวิตประจำวัน

ข้อมูลนี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้าง Buyer Persona ในขั้นต่อไป การรวบรวมข้อมูลนี้สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการเผยแพร่แบบสอบถามในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ หรืออาจลงทุนทำวิจัยอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นก็จะเป็นการดี

วิเคราะห์เป้าหมายและอุปสรรค

ส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของการทำ Persona คือต้องเข้าใจเป้าหมายในชีวิต ความกังวล และความกลัวที่ตัวละครตัวนั้นจะมีในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ นักการตลาดสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการวางแคมเปญที่จะสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยกำจัดความกังวลต่าง ๆ ที่พวกเขามีได้

การวิเคราะห์เป้าหมายและอุปสรรคจะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคได้

วาง Positioning ให้ Persona

เมื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มาได้แล้ว ลองนำข้อมูลนั้นมาสร้างเป็นเรื่องราวภูมิหลังของตัวละครและตั้งชื่อให้เขาดู อาจจะฟังดูไร้ประโยชน์ แต่เชื่อเถอะว่ามันเป็นกลยุทธ์ทางจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่ทำให้นักการตลาดรู้สึกว่าได้แชร์ประสบการณ์กับมนุษย์คนหนึ่งอยู่จริง ๆ ไม่ใช่แค่กระดานตัวเลขไร้ชีวิต และจะทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและสื่อสารกับพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น

ลองตอบคำถามว่าชีวิตประจำวันของพวกเขาเป็นอย่างไร ทำกิจการงานอะไรเป็นหลัก เวลาว่างชอบไปไหนทำอะไร เป็นต้น

เรื่องราวภูมิหลังช่วยในการทำความเข้าใจพฤติกรรมและความคิดของกลุ่มเป้าหมาย แถมยังช่วยปูพื้นฐานการวางกลยุทธ์การตลาดจากพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าได้อีกด้วย

วิเคราะห์ข้อมูลประชากร

เมื่อเราทราบแล้วว่ากลุ่มลูกค้าทำอะไรในแต่ละวัน ลองประยุกต์เรื่องราวนั้นเข้ากับข้อมูลประชากรที่ได้มาในขั้นตอนแรก จะได้เห็นชีวิตประจำวันของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่นอกเหนือจากชีวิตการงาน เข้าสู่มุมที่เป็นส่วนตัวและใกล้ชิดมากขึ้น ข้อมูลนี้ช่วยตัดสินใจว่าแนวทางการสื่อสารควรจะเป็นไปในทางใด

ลองจับอินไซต์ผู้บริโภคโดยอาศัยสิ่งที่ได้จากการแชร์กับ Persona คนนั้น และประยุกต์เข้ากับคอนเซปต์สำหรับแคมเปญการตลาดในคราวต่อ ๆ ไป

ลงมือสร้าง Buyer persona

นำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยข้างต้นทั้งหมดมาสร้างตัวละครสมมติในอุดมคติขึ้นมา พยายามใส่รายละเอียดข้อมูลให้มากที่สุด เหมือนข้อมูลที่เขียนในโปรไฟล์แอปฯ หาคู่ และอย่าลืมเล่าเรื่องเป้าหมายและ Pain Point ในชีวิต จำไว้ว่ารายการลักษณะต่าง ๆ อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเป็นคนหนึ่งคน Persona คือคำอธิบายลักษณะอย่างสมจริงของมนุษย์จริง ๆ คนหนึ่งผู้เป็นตัวแทนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์

ตัวอย่าง Buyer persona

วิธีสร้าง Buyer Persona ตัวแทนลูกค้าเพื่อการวางแผน Marketing

สมมติว่าแบรนด์ของคุณขายรองเท้าผ่านร้านค้าออนไลน์ คุณวิเคราะห์ออกมาแล้วว่ากลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มพนักงานผู้หญิงในวัย 30 ที่อาศัยในโซนเมือง ชอบการช้อปรองเท้าออนไลน์ เยี่ยม ทีนี้ก็ได้เวลาเอาชุดลักษณะที่เป็นนามธรรมเหล่านี้มาประกอบเป็นลูกค้าที่คุณสามารถเข้าถึงได้

ตัวอย่างเช่น สมมติให้กลุ่มสาวออฟฟิศชาวเมืองผู้ชอบการช้อปปิ้งออนไลน์มีชื่อว่า Kate Smith ทีนี้คุณต้องให้รายละเอียดลักษณะต่าง ๆ ที่ได้จากการวิจัยเพื่อให้ Kate มีชีวิตขึ้นมา

  • อายุ 36 ปี
  • มีลูก 2 คน อายุ 4 ขวบและอีกคน 1 ขวบ
  • อาศัยอยู่กรุง Los Angeles
  • ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับ รายได้ $38,000
  • หันมาช้อปออนไลน์เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายจากการเข้าหน้าร้าน
  • ต้องการรองเท้าหลายคู่เพื่อแมทช์กับหลาย ๆ โอกาสและสไตล์การแต่งตัว
  • เธอประสบปัญหาในการหาขนาดรองเท้าที่พอดีกับเท้าที่เล็กเกินมาตรฐาน

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะมีลักษณะตามที่สร้าง Persona เป๊ะ ๆ แต่ Buyer Persona ตัวนี้จะเป็นตัวแทนที่ช่วยให้คุณนึกถึงกลุ่มคนเหล่านี้ในภาพที่เป็นมนุษย์มากกว่าเห็นเป็นตัวเลขสถิติที่เย็นเยือก

และมันจะง่ายในการสนทนากับ Kate มากกว่ากับ "ผู้หญิง" หรือ "สาวออฟฟิศชาวกรุงวัย 36 ที่ช้อปรองเท้าออนไลน์"

เมื่อประกอบร่างเนื้อของ Buyer Persona ขึ้นมาแล้ว อย่าลืมอธิบายว่าเขาเป็นอย่างไร และมีเป้าหมายที่อยากจะเป็นอะไรในอนาคต ช่วยให้กระบวนการคิดว่าจะสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ช่วยเขาไปถึงฝั่งฝันได้อย่างไรในท้ายที่สุด

วิธีสร้าง Buyer Persona ตัวแทนลูกค้าเพื่อการวางแผน Marketing

คำถามที่พบบ่อย

ทำไมต้องทำ Buyer Persona?

Buyer personas ช่วยให้คุณเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าได้ดีขึ้น สิ่งนี้จะช่วยให้คุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดึงดูดความต้องการเฉพาะของพวกเขา นี่เป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับแนวทางการตลาดของคุณให้เข้ากับคนที่เหมาะสมในการสร้าง Lead Generation

ตัวอย่างของ Persona?

Business Persona เป็นเรื่องของการรับรู้ ตัวอย่างเช่น หากนักธุรกิจต้องการให้คนอื่นคิดว่าเขามีอำนาจและประสบความสำเร็จมาก เขาอาจซื้อบ้านหลังใหญ่ ขับรถหรู และพูดคุยกับคนที่อยู่ชนชั้นทางสังคมต่ำกว่า

Ideal Customer Profile กับ Buyer Persona ต่างกันอย่างไร?

Buyer Persona กำหนดประเภทเฉพาะของผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าในตลาดนั้น ในขณะที่ Ideal Customer Profile จะตีความลูกค้าเป้าหมายที่มีอยู่อย่างกว้าง ๆ

ควรมี Buyer Personas กี่ตัว?

ในกรณีส่วนใหญ่ มี Buyer Persona แค่ 3-8 คนก็เพียงพอ หากธุรกิจของคุณกำหนดเป้าหมายไปยังอุตสาหกรรมหรือ Verticals ที่หลากหลาย คุณต้องการมี Persona ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม

เครื่องมือนี้จะให้ประโยชน์กับใครมากที่สุด?

ทีมที่ติดต่อกับลูกค้าทั้งหมดจะได้รับประโยชน์จากเครื่องมือนี้ เนื่องจากสามารถให้คุณค่ากับการตลาด การขาย และบริการ

3 ขั้นของ Buyer's Journey คืออะไรบ้าง?

กระบวนการซื้อใน Buyer's Journey ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ Awareness, Consideration และ Decision ซึ่ง Journey ช่วยให้สามารถปรับแต่งกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อดึงดูดผู้ชมเป้าหมายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน

ต้องการตัวช่วยวางแผนการตลาดยุคดิจิทัลหรือเปล่า?

หากแบรนด์ของคุณต้องการความช่วยเหลือ ทีมงานของ Sphere Agency พร้อมช่วยคุณวางแผน 4P Digital Marketing Mix ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและ KPI ที่วางไว้สำหรับอนาคตข้างหน้า อ่านรายละเอียดบริการ Digital Marketing ของเรา และติดต่อมาเลย!

แชร์บทความนี้: 
โดย Yaya Adam วันที่ เมษายน 8, 2022

เกี่ยวกับเรา

Sphere Agency คือดิจิทัลเอเจนซี่ใจกลางกรุงเทพฯ ที่ช่วยให้แบรนด์สานความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น สร้างคุณค่าและความประทับใจกับกลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันอย่างไม่หยุดนิ่ง เราให้บริการครบวงจรโดยแตกยอดจากอินไซต์ เพื่อหากลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแบรนด์ของคุณในโลกที่พร้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site is protected by reCAPTCHA and the Google Privacy Policy and Terms of Service apply.

All our secret for free!

Joining this list will be your best decision ever. We send monthly emails with insights, stats, case-studies and hacks for getting more traffic and conversions.
Newsletter Subscription
X